เผยเหตุว่าที่ ส.ส.ประชาธิปัตย์ แตกเป็น 2 ขั้ว เสียงส่วนน้อยหนุน “อภิสิทธิ์” คัมแบ็กหัวหน้า ด้านเสียงส่วนมากเตรียมชู “เดชอิศม์” ขึ้นแท่นผู้นำพรรคคนใหม่วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวภายในพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) หลังผลคะแนนเลือกตั้งไม่เป็นทางการปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.รวม 24 เสียง แบ่งเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 22 คน และบัญชีรายชื่อ 2 คน ขณะที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประกาศลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค รับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้ ทำให้กรรมการบริหารพรรคทั้งชุดสิ้นสภาพ ขณะที่ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการเลขาธิการพรรค เรียกว่าที่ ส.ส.ของพรรคที่ชนะเลือกตั้งมาร่วมหารือที่บ้านดาวล้อมเดือนย่านชัยพฤกษ์ โดยมีแกนนำหลักคือ นายเดชอิศม์ ขาวทอง รองหัวหน้าพรรคภาคใต้ และว่าที่ ส.ส.สงขลา และนายชัยชนะ เดชเดโช รองเลขาธิการพรรคและว่าที่ ส.ส.นครศรีธรรมราช รวมถึง น.ส.วทันยา บุนนาค ประธานคณะทำงานนวัตกรรมพรรคประชาธิปัตย์ และว่าที่ ส.ส.ส่วนใหญ่ เข้าร่วมหารือ ขาดเพียง นายสรรเพ็ชร บุญญามณี ว่าที่ ส.ส.สงขลา, นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ ว่าที่ ส.ส.พัทลุง และ ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 2 คน คือ นายจุรินทร์ และนายชวน หลีกภัยมอบอำนาจ “เฉลิมชัย” คุมเกมเลือกตั้ง กก.บห.ชุดใหม่สำหรับการพูดคุยวันนี้มีการหารือและสอบถามว่าที่ ส.ส.พรรคส่วนใหญ่ ซึ่งได้มอบฉันทามติให้ นายเฉลิมชัย มีอำนาจในการติดต่อเจรจาหารือในการจัดตั้งรัฐบาล พร้อมมีการกำหนดวันประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคชุดรักษาการในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้ เพื่อหารือจัดการประชุมใหญ่วิสามัญพรรคเพื่อเลือกตั้ง กก.บห.พรรคชุดใหม่ รวมทั้งหัวหน้าพรรค และให้สิทธิ์หัวหน้าพรรคคนใหม่เลือกเลขาธิการพรรคคนใหม่ด้วย ซึ่งในที่ประชุมกก.บห.พรรคชุดรักษาการจะมีผู้เสนอให้ นายเฉลิมชัย ขึ้นทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อดูแลควบคุมการประชุมใหญ่วิสามัญเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่วางทายาทสายตรง “เดชอิศม์-ชัยชนะ” นำประชาธิปัตย์ขณะเดียวกัน ในวงหารือมีการเสนอชื่อบุคคลที่ในกลุ่มเห็นว่ามีภาพลักษณ์คนรุ่นใหม่ที่สังคมยอมรับ 2 คน คือนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ และ น.ส.วทันยา บุนนาค แต่ทั้ง 2 คนปฏิเสธ จึงมีการวางตัวบุคคลในสายของนายเฉลิมชัย คือ นายเดชอิศม์ ขาวทอง รองหัวหน้าพรรคภาคใต้ให้เป็นหัวหน้าพรรค และนายชัยชนะ รองเลขาธิการพรรค ให้ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรค พร้อมวางตัวบุคคลที่จะเสนอชื่อของทั้ง 2 คนในที่ประชุมใหญ่วิสามัญของพรรคดีลเพื่อไทยรอร่วมรัฐบาลแต่ผิดแผน ก้าวไกลแลนด์สไลด์ทั้งนี้มีรายงานข่าวว่าขั้วที่มีอำนาจในพรรคประชาธิปัตย์ได้ประสานกับตัวแทนของพรรคเพื่อไทยที่จะร่วมจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง โดยมีพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคหลัก แต่ผลปรากฏว่าพรรคก้าวไกลแลนสไลด์นำการเลือกตั้งเป็นพรรคลำดับที่ 1 จึงต้องมีการรอดูสถานการณ์จัดตั้งรัฐบาล โดยว่าที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 16 คน ได้มอบฉันทามติให้นายเฉลิมชัย เป็นผู้มีอำนาจเต็มทั้งหมด ขณะที่อีก 6 ว่าที่ ส.ส.ของพรรคมีความเห็นที่จะสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรค ให้ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้งเพื่อฟื้นฟูพรรคและทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภาชุดนี้ ส่วนนายเฉลิมชัยจะไม่รับตำแหน่งใดๆ ภายในพรรค รวมถึงตำแหน่งรัฐมนตรี หากพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลขุมกำลังสาย “เฉลิมชัย” จ่อยึดพรรคประชาธิปัตย์สำหรับว่าที่ ส.ส.ในขั้วที่สนับสนุน นายเฉลิมชัย ให้คุมเกมในพรรคโดยนั่งอยู่เบื้องหลังในลักษณะเดียวกับนายเนวิน ชิดชอบ ครูใหญ่ พรรคภูมิใจไทย คือ นายราชิต สุดพุ่ม ว่าที่ ส.ส.นครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 1นายทรงศักดิ์ มุสิกอง ว่าที่ ส.ส.นครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 2 นายพิทักษ์เดช เดชเดโช ว่าที่ ส.ส.นครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 3 ว่าที่ ร.ท.ยุทธการ รัตนมาศ ว่าที่ ส.ส.นครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 4นายชัยชนะ เดชเดโช ว่าที่ ส.ส.นครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 5 นางอวยศรี เชาวลิต ว่าที่ ส.ส.นครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 9นายสมยศ พลายด้วง ว่าที่ ส.ส.สงขลา เขตเลือกตั้งที่ 3 นายเดชอิศม์ ขาวทอง ว่าที่ ส.ส.สงขลา เขตเลือกตั้งที่ 5 น.ส.สุภาพร กำเนิดผล ว่าที่ ส.ส.สงขลา เขตเลือกตั้งที่ 6พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ ว่าที่ ส.ส.สงขลา เขตเลือกตั้งที่ 8 นายศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง ว่าที่ ส.ส.สงขลา เขตเลือกตั้งที่ 9น.ส.สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ ว่าที่ ส.ส.ตรัง เขตเลือกตั้งที่ 3 นายกาญจน์ ตั้งปอง ว่าที่ส.ส.ตรัง เขตเลือกตั้งที่ 4 นายจักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ ว่าที่ ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ เขตเลือกตั้งที่ 2 นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ว่าที่ ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ เขตเลือกตั้งที่ 3 นายวุฒิพงษ์ นามบุตร ว่าที่ ส.ส.อุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 นายชาตรี หล้าพรหม ว่าที่ ส.ส.สกลนคร เขตเลือกตั้งที่ 2 ขั้ว ส.ส.เสียงส่วนน้อยหนุน “อภิสิทธิ์” ส่วนว่าที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เสียงส่วนน้อยที่สนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรค ให้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง เพื่อฟื้นฟูเรียกศรัทธาให้พรรค โดยมีแนวคิดที่จะเป็นฝ่ายค้านทำงานตรวจสอบรัฐบาลมี 7 เสียง คือ นายชวน หลีกภัย ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสรรเพชญ บุญญามณี ว่าที่ ส.ส.สงขลา เขตเลือกตั้งที่ 1นางสุพัชรี ธรรมเพชร ว่าที่ ส.ส.พัทลุง เขตเลือกตั้งที่ 1นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ ว่าที่ ส.ส.พัทลุง เขตเลือกตั้งที่ 3นายยูนัยดี วาบา ว่าที่ ส.ส.ปัตตานี เขตเลือกตั้งที่ 4นายสมบัติ ยะสินธุ์ ส.ส.แม่ฮ่องสอน เขตเลือกตั้งที่ 2 “