




นักวิจัยเผยผลการศึกษาที่ระบุว่า พื้นดินมหานครนิวยอร์กกำลังทรุดตัวจมลงไปเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เนื่องมาจากการที่ต้องรับน้ำหนักตึกสูงระฟ้าที่ก่อสร้างเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังต้องเจอความเสี่ยงเกิดน้ำท่วมใหญ่ เนื่องมาจากระดับน้ำทะเลที่หนุนสูงจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศผลการศึกษาก่อนหน้านี้ยังชี้ว่า เมืองชายฝั่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังจมลงอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคตยังอาจทำให้ผลกระทบเพิ่มขึ้น อย่างการเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ โดยระดับน้ำทะเลกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลกเนื่องจากการละลายของแผ่นน้ำแข็งบนโลก และการขยายตัวของน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น การจมตัวของพื้นดิน อาจทำให้ปัญหานี้รุนแรงขึ้น ผลการศึกษาชิ้นใหม่ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร “Earth’s Future” ฉบับล่าสุด ระบุว่า “นิวยอร์ก” มหานครที่ไม่เคยหลับใหล หรือ “บิ๊ก แอปเปิ้ล” กำลังจมลงเฉลี่ย 1-2 มิลลิเมตรต่อปี บางพื้นที่ทรุดมากกว่านี้ถึงสองเท่า อันเป็นผลกระทบจากวิกฤติน้ำทะเลหนุนสูง จากภาวะโลกร้อนที่ทำให้ธารน้ำแข็งของโลกละลายตัวเร็ว โดยระดับน้ำทะเลชายฝั่งนิวยอร์กเพิ่มขึ้นประมาณ 9 นิ้ว หรือ 22 เซนติเมตร นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา ขณะเดียวกันพอถึงช่วงปลายศตวรรษ น้ำท่วมจากพายุอาจทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูง 4 เท่า จากระดับน้ำในตอนนี้ พูดง่ายๆ ว่าในอนาคตไม่ไกล ชาวนิวยอร์ก 8.4 ล้านคน จะต้องรับมือกับน้ำท่วมใหญ่ที่เกิดจากน้ำทะเลหนุนสูง และยังมีพายุเฮอริเคนที่รุนแรงขึ้นจากเมื่อก่อน เพราะความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ tt ttพื้นดินนครนิวยอร์กทรุดตัวลงทุกปีนักวิจัยระบุว่า นิวยอร์ก เป็นเพียงหนึ่งในมหานครใหญ่หลายแห่งของโลกที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเล และกำลังเสี่ยงต่อผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และการก่อสร้างอาคารสูงใหญ่ เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและประชากร จากการศึกษาพบว่า ตึกสูงขนาดใหญ่ในนิวยอร์ก รวมไปถึงตึกเอ็มไพร์สเตท และตึกไครสเลอร์ มีน้ำหนักรวมกันมากกว่า 1.68 ล้านล้านปอนด์ เทียบได้กับน้ำหนักของช้างประมาณ 140 ล้านตัว น้ำหนักมหาศาลนี้กำลังกดทับลงบนวัสดุต่างๆ ที่พบในพื้นดินของนครนิวยอร์ก แม้ว่าอาคารขนาดใหญ่ส่วนใหญ่จะถูกสร้างบนหินที่แข็งแกร่งเช่นหินชีสต์ แต่ยังมีการผสมผสานของทรายและดินเหนียวอื่นๆ ที่ถูกสร้างขึ้นเพิ่มเติม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในปัญหาการค่อยๆ ทรุดลงที่เกิดขึ้นอย่างธรรมชาติ บริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของสหรัฐฯ อันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ธารน้ำแข็งละลายตัวในช่วงสิ้นสุดยุคน้ำแข็งที่ผ่านมาtt ttทอม พาร์สันส์ นักธรณีวิทยาของสำนักงานธรณีวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยใหม่นี้ บอกว่า นี่ไม่ใช่สิ่งที่ต้องตื่นตระหนกกันในทันทีตอนนี้ แต่มีกระบวนการที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม ทอม พาร์สันส์ ระบุว่า ยิ่งเนื้อดินมีความเปราะบางเท่าไร ก็จะมีการกดอัดมากขึ้นจากอาคาร เขามองว่า การสร้างอาคารขนาดใหญ่เช่นนี้ในนครนิวยอร์กไม่ใช่ความผิดอะไร แต่ทุกคนต้องคิดไว้เสมอว่าทุกครั้งที่เราสร้างอะไรขึ้นมา มันก็จะกดทับลงบนพื้นดินเล็กน้อยมากขึ้นทุกวันในปี ค.ศ.2012 นครนิวยอร์กได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแซนดี้ ซึ่งทำให้ระบบรถไฟใต้ดินถูกน้ำท่วมและเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง รวมถึงไฟฟ้าดับในหลายพื้นที่ จากนั้น 9 ปีต่อมา พายุเฮอริเคนอิดะ ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเมือง เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าชาวนิวยอร์กได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติทั้งสองเหตุการณ์นี้หนักมากขึ้น เพราะผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกทอม พาร์สันส์ ยังกล่าวว่า มหานครนิวยอร์ก และเมืองชายฝั่งอื่นๆ ของโลก ต้องมีการวางแผนเตรียมพร้อมให้ดี เมื่อเกิดน้ำท่วมบ่อยขึ้น น้ำทะเลหนุนสูงจะยังกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้วัสดุอาคารมีความเสื่อมสลาย นอกจากนี้น้ำท่วมยังคร่าชีวิตประชาชน ซึ่งกลายเป็นความสูญเสียใหญ่หลวงในทุกๆ ครั้ง tt ttสถานการณ์น่าวิตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การศึกษาล่าสุดของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University-NTU) ยังพบว่า เมืองชายฝั่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังจมลงอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคตยังอาจทำให้ผลกระทบเพิ่มขึ้น อย่างการเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ โดยระดับน้ำทะเลกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลกเนื่องจากการละลายของแผ่นน้ำแข็งบนโลก และการขยายตัวของน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น การจมตัวของพื้นดิน อาจทำให้ปัญหานี้รุนแรงขึ้น เชอริล เทย์ นักศึกษาปริญญาเอกจากสาขาสิ่งแวดล้อมเอเชีย ของมหาวิทยาลัยนันยาง ระบุว่า มีเมืองชายฝั่งหลายแห่งในเอเชียที่มีความเจริญเติบโตรวดเร็ว ทำให้มีความต้องการสูบน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการในการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการสูบน้ำใต้ดินไปใช้นี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นดินทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วภาพดาวเทียมของเมืองชายฝั่ง 48 เมืองทั่วโลก ถูกประมวลผลตั้งแต่ปี 2014 ถึงปี 2020 แสดงให้เห็นว่าความเร็วในการทรุดตัวลงอยู่ที่เฉลี่ยคือ 16.2 มิลลิเมตรต่อปี บางเมืองมีการจมลงที่ 43 มิลลิเมตรต่อปี ขณะที่ปัจจุบันระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นที่ 3.7 มิลลิเมตรต่อปีข้อมูลจากการศึกษาพบว่า กรุงจาการ์ตา ของอินโดนีเซีย กำลังจมลงด้วยอัตราเฉลี่ย 4.4 มิลลิเมตรต่อปี และนครโฮจิมินห์ ซิตี้ ของเวียดนาม ที่ทั้งสูบน้ำบาดาลเยอะ และยังมีอัตราส่วนของตึกระฟ้าสูงในพื้นที่ที่มีฐานรากอ่อนแอ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เพิ่มการทรุดลงของพื้นที่ด้วย ก็กำลังจมลงด้วยอัตราเฉลี่ย 16.2 มิลลิเมตร รายงานต่างๆ ได้แสดงให้เห็นว่าการสูบน้ำใต้ดินมากเกินไปก็เป็นสาเหตุหลักของการทรุดลงของพื้นที่ในทั้งสองเมืองใหญ่tt ttผู้เชี่ยวชาญแนะว่า เพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้ รัฐบาลของประเทศต่างๆ สามารถสร้างแนวป้องกันชายฝั่งอย่าง กำแพงทะเล หรือใช้วิธีธรรมชาติ อย่างการส่งเสริมปลูกป่าชายเลนนอกจากนี้ก็ควรจัดการกับสาเหตุหลักของปัญหาด้วย อย่างเรื่องการใช้ทรัพยากร เช่น น้ำใต้ดิน น้ำมัน และก๊าซ ที่ทำให้พื้นดินทรุดตัว และยังต้องให้ความสำคัญกับการร่วมมือระหว่างประเทศในการแบ่งปันประสบการณ์ และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้อง.ผู้เขียน : เพ็ญโสภา สุคนธรักษ์ข้อมูล : The Guardian, New York Post