วันอาทิตย์, 24 กันยายน 2566

อานม้าเจอในจีน อาจเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบ

เมื่อเร็วๆนี้ทีมนักโบราณคดีนานาชาติได้ค้นพบสิ่งที่อาจเป็น “อานม้า” เก่าแก่สุดเท่าที่เคยพบมาในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีเมืองหยางไห่ ในประเทศจีน อานม้าถูกฝังในหลุมฝังศพของสตรีคนหนึ่งที่แต่งกายด้วยชุดขี่ม้า โดยอานตั้ง อยู่ในลักษณะที่ทำให้ดูเหมือนว่าเธอกำลังนั่งอยู่บนนั้น เมื่อสืบหาอายุของสตรีผู้นี้และอานม้า ก็พว่า มีอายุประมาณ 2,700 ปีมีการวิจัยก่อนหน้าแสดงให้เห็นว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่พบอานม้าดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าวัฒนธรรมสุเบชิ (Subeixi) ได้ย้ายเข้ามาในภูมิภาคนี้เมื่อประมาณ 3,000 ปีที่แล้ว ดูเหมือนว่าผู้คนพวกนี้น่าจะขี่ม้าเมื่อไปถึงดินแดนแห่งนั้น ส่วนอานม้าที่พบนี้ ระบุว่าเบาะทำจากหนังวัวยัดไส้ในด้วยขนกวางขนอูฐ และฟาง ช่วยให้นั่งได้มั่นเหมาะ และทำให้ผู้ขี่ม้าเล็งเป้าได้ดีขึ้นเมื่อยิงธนู แต่ไม่พบว่ามีโกลนหรือห่วงเหล็กสำหรับเหยียบทั้งนี้ มีข้อมูลเผยว่า การเพาะเลี้ยงม้าเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อราว 6,000 ปีก่อน แม้ว่าในระยะแรกของการเพาะเลี้ยงสัตว์เหล่านี้มีจุดประสงค์ เพื่อ เป็นแหล่งวัตถุดิบอย่างเนื้อและนม แต่เชื่อกันว่าการขี่ม้าใช้เวลาพัฒนาอีก 1,000 ปีต่อมา ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน คนขี่ม้าก็เริ่มมองหาวิธีรองรับการขี่ นักโบราณคดีนำเสนอว่าอานม้าน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากเสื่อที่ผูกติดกับหลังม้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยอานม้าน่าจะช่วยให้ผู้ขี่นั้นขี่ม้าได้นานขึ้น ทำให้ขี่ได้ไกลขึ้นและเดินทางไปพบกับผู้คนในพื้นที่ห่างไกลได้ในที่สุด.(Credit : Archaeological Research in Asia (2023).DOI: 10.1016/j.ara2023.100451)