วันจันทร์, 2 ตุลาคม 2566

พส.ผนึกพลังภาคีเครือข่ายปฏิบัติการลงพื้นที่เก็บข้อมูลคนไร้บ้าน วางแผนแก้ปัญหารายบุคคล

06 มิ.ย. 2023
23

โครงการแจงนับคนไร้บ้าน (One Night Count) คือการคืนศักดิ์ศรีให้กับกลุ่มคนไร้บ้าน กระตุ้นให้สังคมหันกลับมามองเห็นตัวตนของกลุ่มคนเหล่านี้โดย กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ทีม One Home พม. ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มปฏิบัติการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเบื้องต้นถึงจำนวนคนไร้บ้านปี 2566 ภายในคืนเดียวเมื่อวันที่ 23 พ.ค.2566 พร้อมกัน 77 จังหวัดทั่วประเทศ พบจำนวนคนไร้บ้านทั่วประเทศ 2,436 คน เป็นชาย 2,012 คน และหญิง 391 คน ไม่ระบุ 33 คน พบมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร 1,271 คน ส่วนใหญ่เป็นวัยกลางคน อายุ 40-59 ปี 1,377 คนtt ttนางจตุพร โรจนพานิชนางจตุพร โรจนพานิช อธิบดี พส.กล่าวว่า แผนงานขับเคลื่อนหลังการแจงนับคือการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อทราบสภาพปัญหาและความต้องการ โดยทีม One Home พม.แต่ละจังหวัดจะจัดทำแผนแก้ปัญหารายบุคคลผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายเองด้วย เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุดตรงใจ มุ่งหวังให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดี เข้าถึงสิทธิสวัสดิการ พร้อมกับความพยายามนำกลับคืนสู่ครอบครัว หรืออยู่ในความดูแลของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง แต่ต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ ในรายที่ต้องการกลับสู่ครอบครัว จะเตรียมความพร้อมครอบครัวนอกเหนือจากการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพให้กลุ่มเป้าหมายสามารถพึ่งตนเองได้อธิบดี พส. กล่าวด้วยว่า ปัญหาหลักคนไร้บ้านที่พบ มีทั้งด้านสุขภาพ ไม่มีงานทำ และปัญหาครอบครัว ที่ผ่านมา พส.ได้ดำเนินงานด้านการคุ้มครองคนไร้บ้าน เช่น จัดทำโครงการทะเบียนบ้าน พม. แก้ปัญหาสถานะทางทะเบียนราษฎรให้คนไร้บ้าน คนเร่ร่อน ในปี 2566 ดำเนินการไปได้ 1,215 คน จะขยายผลครอบคลุมมากขึ้น เพื่อการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการของรัฐได้ครบถ้วน รวมถึงการดูแลให้ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การจัดทำโครงการห้องเช่าคนละครึ่งที่ดำเนินการร่วมกับ สสส. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยและภาคีเครือข่าย แบ่งเบาภาระกลุ่มคนไร้บ้านที่มาหางานทำในเขตเมือง จัดหางานที่สอดคล้องกับความถนัดโดยดึงสถานประกอบการเข้ามามีส่วนร่วม การดูแลคนไร้บ้านที่มีอาการป่วยทางจิตโดยร่วมกับกรมสุขภาพจิต เร่งจัดตั้งจุดประสานงานคนไร้บ้านทั่วประเทศ เพื่อให้บริการกลุ่มเปราะบางเชิงรุกในพื้นที่สาธารณะ“พส.วางเป้าหมายการทำงานทั้งระดับนโยบายผ่านกลไกคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งระดับชาติ เพื่อออกนโยบาย มาตรการให้สอด คล้องกับสภาพปัญหา ระดับปฏิบัติใช้กลไกศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งทั่วประเทศ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และประสานภาคีเครือข่าย มุ่งสู่การพึ่งพาตนเอง และระดับเครือข่าย บูรณาการทุกภาคส่วนออกแบบระบบการคุ้มครองดูแล และจัดบริการสวัสดิการสังคมอย่างตรงจุดในทุกมิติ” นางจตุพร เปิดเผยแนวทางการทำงานtt ttนางอัจฉรา สรวารีด้าน นางอัจฉรา สรวารี เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน ฉายภาพให้เห็นว่า คนไร้ที่พึ่งไม่ใช่คนไร้บ้านทุกคน แต่ยังมีกลุ่มคนที่ประสบปัญหาสวัสดิการ หรือตกหล่นจากสวัสดิการ จึงต้องมาใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ เช่น ตกงาน หรือบางคนเป็นเพียงลูกจ้างรายวันที่แบกรับค่าครองชีพค่าที่สูง พื้นที่ราชดำเนินที่มูลนิธิอิสรชนเข้าไปดูแล ถือเป็นแหล่งใหญ่ของกลุ่มคนไร้ที่พึ่ง ช่วงอายุที่พบมากที่สุด คือ 40 ปีขึ้นไป มากสุดมีถึง 70-80 ปี บางคนใช้ชีวิตในที่สาธารณะมาเป็น 10 ปี ต้องยอมรับว่าเราไม่มีสถานสงเคราะห์ของรัฐในการดูแลผู้สูงอายุที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น นอกจากบ้านบางแค มีคนสอบถามตนเป็นจำนวนมากว่ามีผู้สูงอายุไม่มีญาติดูแลจะส่งไปที่ไหนที่เป็นของรัฐ เป็นการหาคำตอบที่ยากมาก ขณะนี้เราอยู่ในสังคมผู้สูงอายุ เป็นสังคมเดี่ยวมากขึ้น แต่ไม่มีการเตรียมความพร้อมระบบสวัสดิการรองรับใดๆเลย ต่อให้เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็น 3,000 บาทต่อเดือนก็ยังไม่เพียงพอกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ผู้สูงอายุที่อยู่โดดเดี่ยวจะดูแลอย่างไร ยังไม่รวมผู้สูงอายุที่มีภาวะทางจิต ทางสมอง และเจ็บป่วยทางกายอีกด้วย เป็นปัญหาใหญ่ที่ยังไม่มีคำตอบ ปัญหาเหล่านี้อาจจะส่งผลให้ผู้สูงอายุออกมาใช้ชีวิตบนท้องถนนมากขึ้น รวมถึงวัยแรงงานช่วง 30–40 ปีขึ้นไปที่ไม่ได้ทำงานประจำไม่มีรายได้เพียงพอกับค่าครองชีพที่อาจจะมาอาศัยพื้นที่สาธารณะอีกเท่าไหร่เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน กล่าวอีกว่า หลายคนมองว่า ปัญหาคนไร้บ้าน แก้ไขด้วยการจัดสรรบ้านให้พวกเขาอยู่ แต่ความจริงแล้ว การออกมาใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนน เป็นเพียงแค่ปลายปัญหาจากการที่คนในสังคมไม่ได้รับสวัสดิการที่เพียงพอ สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคือ ทำอย่างไรให้คน ในสังคมไม่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงไร้บ้าน ไร้ที่พึ่ง ทางออกที่ควรจะเป็นจึงเป็นการออกนโยบายเพื่อให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงสวัสดิการอย่างแท้จริงและเป็นรูปธรรม เช่น 1.จัดให้ทุกคนทุกกลุ่มเข้าถึงสวัสดิการ เข้าถึงสิทธิการรักษาได้อย่างเท่าเทียม พร้อมทั้งมีกระบวนการประสานงานภายใน ส่งต่อรักษาอย่างชัดเจนและเป็นมาตรฐาน เพื่อไม่ให้คนไร้ที่พึ่งถูกปฏิเสธการรักษา2.จัดที่พักพิง เพื่อฟื้นฟูคนไร้ที่พึ่ง ทั้งผู้ป่วยทางจิตที่สิ้นสุดกระบวนการบำบัด และดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ที่สิ้นสุดการรักษากับ รพ. ไม่ปล่อยให้ออกมาใช้ชีวิตบนท้องถนน3.จัดให้คนไร้ที่พึ่งเข้าถึงบ้านเช่า ราคาถูก4.ประสานงานกับระดับท้องถิ่น ช่วยฝึกอาชีพให้กับผู้สูงอายุ และผลักดันให้เกิดการสนับสนุนการว่าจ้างผู้สูงอายุให้ยังคงทำงานต่อไปได้และ 5.ส่งเสริมกลไกท้องถิ่น ดูแลแก้ปัญหาคนไร้ที่พึ่งในพื้นที่ ในขณะที่รัฐต้องสนับสนุนงบประมาณ และทรัพยากรต่างๆtt tt“สิ่งที่เราดำเนินการ ไม่ใช่เรียกร้องเพื่อคนไร้บ้านเพียงกลุ่มเดียว แต่เราอยากจะเห็นระบบที่ทำเพื่อทุกคนเช่นกัน หากวันหนึ่งเราตกงาน เป็นอัลไซเมอร์ แล้วลงมาสู่ข้างถนน อย่างน้อยก็หวังว่าจะมีระบบดูแลมีที่พึ่งพิง จึงอยากให้มีระบบกลไกหรือศูนย์กลางที่จะดูแลจัดการปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง เพราะเป็นสวัสดิการพื้นฐานที่ทุกคนควรจะได้รับเท่าเทียมกัน” นางอัจฉรา ย้ำความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาทีมข่าวการพัฒนาสังคม ขอเป็นอีกเสียงที่ฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรัฐบาลใหม่ หันมาใส่ใจแก้ปัญหาสวัสดิการที่เป็นระบบและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่คนไร้บ้าน แต่ยังรวมถึงประชากรกลุ่มเปราะบางที่ประสบปัญหาต่างๆที่เสี่ยงจะลงสู่ท้องถนนอีกไม่รู้จำนวนเท่าไหร่สำคัญที่สุดไม่ใช่เพียงแค่โหมโรงสร้างภาพ หรือแค่ขายฝันที่จะแก้ปัญหา แต่สุดท้ายทุกอย่างก็กลับสู่วังวนเดิม.ทีมข่าวการพัฒนาสังคม