
ในปี พ.ศ.2558 มีการค้นพบดาวเคราะห์ขนาดเท่าดาวพฤหัสบดี ชื่อว่า “ฮัลลา” (Halla) หรือ 8 UMi b อยู่ห่างออกไปราว 520 ปีแสง กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์อายุมากชื่อ Baekdu หรือ 8 Ursae Minoris ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหมีเล็ก ซึ่ง ฮัลลา โคจรเข้าใกล้ดาวฤกษ์แม่ด้วยระยะทางราวครึ่งหนึ่งของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์ยืนยันว่า Baekdu เป็นดาวยักษ์แดง ที่ควรพองตัวจนถึงจุดที่มันจะกลืนกินและทำลายดาวเคราะห์ฮัลลาที่อยู่ใกล้เคียง คาดว่าดาวพุธ ดาวศุกร์ และโลกจะพบชะตากรรมนี้ในอนาคต เมื่อดวงอาทิตย์มีอายุมากขึ้นและขยายตัวอย่างไรก็ตาม ที่น่าแปลกคือ ฮัลลา กลับรอดชีวิตอยู่ได้ เพราะจริงๆ แล้วมันควรจะถูกทำลายโดยดาวฤกษ์ของมัน ส่วนที่ว่า ฮัลลา อยู่รอดมาได้อย่างไรนั้น สิ่งแรกที่นักดาราศาสตร์ทำก็คือ ย้อนกลับไปตรวจสอบว่าการศึกษาก่อนหน้านี้ไม่ได้ทำอะไรผิดพลาด นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ในออสเตรเลีย เผยว่าวิธีหนึ่งที่สามารถอธิบายปริศนาทั้งหมดนี้ได้อย่างง่ายดายก็คือดาวเคราะห์ดวงนั้นไม่ได้อยู่ที่นั่นจริง แต่หลังจากติดตามการโคลงเคลงในดาวฤกษ์ Baekdu ที่บันทึกไว้นานกว่า 15 ปี ก็พบรูปแบบที่อาจเกิดจากแรงดึงของแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ต่อดาวฤกษ์เท่านั้น ดังนั้นจึงยืนยันได้ว่าดาวเคราะห์ ฮัลลา มีอยู่จริงนักดาราศาสตร์ยังตรวจสอบองค์ประกอบภายในของดาวฤกษ์ Baekdu โดยการวัดความแปรผันของความสว่างของดาว และพิจารณาว่า Baekdu ไม่ได้เผาผลาญไฮโดรเจนอีกต่อไปและเปลี่ยนไปใช้การเผาไหม้ฮีเลียม นั่นหมายความว่ามันใกล้จะสิ้นอายุขัยและได้ผ่านช่วงการขยายตัวที่ควรจะกลืนกลินดาวเคราะห์ฮัลลา.Credit : NASA/ESA