
IAEA อนุมัติแผนการของญี่ปุ่น ที่จะปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี จากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาลงทะเลแปซิฟิก โดยระบุว่าจะกระทบธรรมชาติเพียงเล็กน้อยสำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันอังคารที่ 4 ก.ค. 2566 ว่า ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ของสหประชาชาติ (UN) อนุมัติแผนการของประเทศญี่ปุ่น ที่จะปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิมา ไดอิจิ ลงมหาสมุทรแปซิฟิก แม้จะเผชิญเสียงต่อต้านจากจีนและเกาหลีใต้ราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการ IAEA ระบุว่า ผลจากการทบทวนด้านความปลอดภัยเป็นเวลา 2 ปี พบว่าแผนของญี่ปุ่นเป็นไปตามมาตรกฐานสากล และการปล่อยน้ำปนเปื้อนดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นายกรอสซียังให้คำมั่นว่า จะติดต่อประสานงานกับญี่ปุ่นต่อไปหลังจากน้ำถูกปล่อยแล้วทั้งนี้ เมื่อปี 2554 เกิดแผ่นดินไหวระดับ 9.0 บริเวณภูมิภาคโทโฮกุ ของญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิเข้าท่วมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 3 เครื่องขิงโรงงานไฟฟ้าฟูกูชิมา จนเกิดการหลอมละลาย กลายเป็นหายนะนิวเคลียร์ครั้งเลวร้ายที่สุดในโลก นับตั้งแต่เหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลญี่ปุ่นวางแผนปล่อนน้ำปนเปื้อนรังสีลงทะเลหลังจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา ไม่มีพื้นที่เก็บน้ำปนเปื้อนที่ใช้ในระบบหล่อเย็นอีกต่อไป เนื่องจากโรงงานผลิตน้ำปนเปื้อนถึง 100 ลบ.ม.ต่อวัน ในขณะที่มีแทงก์เก็บน้ำได้ราว 1.3 ล้าน ลบ.ม.กัมมันตภาพรังสีส่วนใหญ่จะถูกกรองออกจากน้ำก่อนปล่อย ยกเว้นรังสีจากไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เรียกว่า ทริเทียม กับ คาร์บอน 14 ตามลำดับ เนื่องจากไอโซโทบของสารทั้ง 2 ตัวยากที่จะแยกออกจากน้ำ แต่ญี่ปุ่นระบุว่า น้ำที่พวกเขาจะปล่อยลงแปซิฟิกจะมีระดับของสาร ทริเทียมกับคาร์บอน 14 ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยอย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นยังไม่ประกาศตารางเวลาว่าจะปล่อยน้ำเมื่อใด และแผนการนี้ยังจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอื่นๆ อีกที่มา : bbc