




สัตวแพทย์ไทยที่ติดตามรักษา พลายศักดิ์สุรินทร์ ตั้งแต่อยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ในศรีลังกา เผยเหตุผลสำคัญของสุขภาพช้าง ที่จำเป็นต้องนำออกมารักษาที่สวนสัตว์ Dehiwala เนื่องจากขาดการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ ส่วนอาการบาดเจ็บขาหน้าด้านซ้าย เป็นอีกเหตุผลสำคัญ ที่ต้องนำกลับมารักษาที่ไทย เพราะมีเครื่องมือการฟื้นฟูที่พร้อมมากกว่า ด้านพลายประตูผา ยังไม่มีแนวทาง นำกลับมารักษาที่ไทย เพราะมีอายุมาก แต่อนาคตมีแนวทางผสานความร่วมมือของทั้งสองประเทศtt ttพลายประตูผากรณีโลกโซเชียล มีกระแสทวงคืนช้างไทยในศรีลังกา อีกเชือกคือ พลายประตูผา อายุเกือบ 50 ปี หลังนำพลายศักดิ์สุรินทร์ กลับมาไทยเพื่อรักษาตัวแล้ว นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) กล่าวว่า ขณะนี้มีกระแสคนรักช้างห่วงใยช้างอีก 2 เชือก ที่อยู่ในศรีลังกา ทางหน่วยงานเตรียมส่งทีมสัตวแพทย์ ไปพร้อมกับ คุณกัญจนา ศิลปอาชา ที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ของกระทรวงฯ ต้นเดือน ก.ย. นี้ เพื่อดูแนวทางความร่วมมือการทำงานระหว่างหน่วยงานไทย และศรีลังกา เพื่อถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการดูแลรักษาพยาบาลช้างสำหรับพลายประตูผา มีอายุเกือบ 50 ปี สัตวแพทย์ประเมินว่า การเคลื่อนย้ายพลายประตูผาข้ามประเทศมีความเสี่ยง เป็นอันตรายกับตัวช้าง จึงควรให้พลายประตูผา ได้รับการดูแลสุขภาพ ด้วยการทำโครงการความร่วมมือกันระหว่าง ไทยกับศรีลังกา ในการแลกเปลี่ยนความรู้ บุคลากร เกี่ยวกับเรื่องการรักษาพยาบาลช้างtt ttนายสัตวแพทย์วิสิทธิ์ อาศัยธรรมกุล ให้กำลังใจพลายศักดิ์สุรินทร์ ก่อนขึ้นเครื่องบินที่ศรีลังกานายสัตวแพทย์วิสิทธิ์ อาศัยธรรมกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันอนุรักษ์และวิจัยสัตว์ องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมแพทย์ที่ร่วมขนย้ายพลายศักดิ์สุรินทร์ กลับมาประเทศไทยได้สำเร็จ กล่าวกับทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ว่า กรณีพลายศักดิ์สุรินทร์ เมื่อเทียบกับพลายประตูผา มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอายุของช้าง พลายศักดิ์สุรินทร์ มีอายุ 30 ปี ที่สำเร็จได้อย่างปลอดภัย 80 เปอร์เซ็นต์ มาจากความพร้อม และอุปนิสัยของช้าง ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์ มาจากการที่คนช่วยเหลือ เพราะถ้าช้างไม่ให้ความร่วมมือ จะต้องเจออุปสรรคอีกมหาศาล ถ้าเกิดช้างดิ้นทุรนทุรายบนเครื่องบิน มีโอกาสเสี่ยงทำให้เครื่องบินประสบอุบัติเหตุได้สำหรับเหตุผลที่ต้องนำพลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยที่ส่งไปเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีกับศรีลังกา กลับประเทศไทย เพราะครั้งแรกที่เดินทางไปตรวจอาการบาดเจ็บของพลายศักดิ์สุรินทร์ เมื่อเดือน ก.ย. 2565 ขณะช้างอยู่ในวัดที่ศรีลังกา พบว่า ควาญดูแลช้างที่วัดไม่ใช่คนที่มีความรู้ แต่เป็นคนขับรถบรรทุกช้าง เนื่องจากควาญคนเก่าเสียชีวิตไป เมื่ออยู่ที่วัด แม้ช้างจะเข้ากับพระได้ดี แต่กระบวนการดูแลรักษาอาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะขาหน้าด้านซ้าย ไม่มีการตรวจวินิจฉัยเหมาะสม อาการบาดเจ็บของขาเกิดจากสาเหตุอะไร และนานแค่ไหน ไม่มีใครทราบแน่ชัดtt ttพลายศักดิ์สุรินทร์ ก่อนจะเดินทางกลับไทย“การที่ช้างต้องเดินกะเผลก มีฝีขนาดใหญ่สองข้างด้านหลัง และไม่มีการรักษาอย่างเหมาะสม ทำให้ฝีบวมเป่ง การเดินทางไปครั้งแรกประมาณ ก.ย. ปี 2565 ทางทีมลงความเห็นว่ามีหมอที่ดูแลอย่างเหมาะสม เพราะหมอไทยที่เดินทางไปก็อยู่ศรีลังกา ได้ไม่นาน ขณะที่เครื่องมือมีไม่เพียงพอในการดูแลช้าง จากนั้นทางสถานทูตไทยในศรีลังกา ได้ติดต่อประสานงาน จนท่านเจ้าอาวาสยอมให้ย้ายช้างออกมาดูแลที่สวนสัตว์ Dehiwala”พลายศักดิ์สุรินทร์ ตอนยังอยู่ที่วัด ทีมแพทย์ลงความเห็นว่าควรนำออกมารักษาในสวนสัตว์ เพราะต้องถูกล่ามโซ่ทั้งสองขา แม้เป็นวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างของที่นี่ แต่ยังมีการนำช้างไปใช้งานในขบวนแห่ ซึ่งถ้ายังรักษาตัวอยู่ที่วัด ช้างก็ยังไม่สามารถฟื้นฟูร่างกายได้ ยิ่งพลายศักดิ์สุรินทร์ เป็นช้างที่นิสัยดี มีอาการบาดเจ็บแค่ไหน ก็พาไปเดินขบวนแห่โดยไม่ขัดขืน หรือก้าวร้าวกับผู้ดูแล ดังนั้นหากปล่อยให้อยู่ที่วัดต่อไป สุขภาพช้างจะยิ่งทรุดโทรมtt ttคุณกัญจนา ศิลปอาชา ผู้ประสานงานในการขนย้ายช้างกลับไทย ประกอบกับ ขณะอยู่วัดการรักษาช้าง เป็นในแนวทางอายุรเวช แผนโบราณ แต่พอย้ายมาที่ สวนสัตว์ Dehiwala มีสัตวแพทย์ ชาวศรีลังกา เข้ามาช่วยดูแล โดยมีการกรีดรักษาฝีบริเวณหลัง ทำให้การอยู่ที่สวนสัตว์กว่า 8 เดือน ฝีเริ่มดีขึ้นกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ผลเลือดของพลายศักดิ์สุรินทร์ ก่อนกลับมาไทยเมื่อวันที่ 2 ก.ค. ที่ผ่านมา มีผลเลือดจาง อาจมีผลมาจากอาหารการกิน และมีภาวะเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ แต่อาการเหล่านี้ไม่น่าเป็นห่วง เพราะช้างไม่มีอาการซึม หรือกินอาหารไม่ได้ โดยอาการนี้เมื่อนำช้างกลับมาไทย มีการปรับเปลี่ยนอาหารให้เหมาะสม ภาวะเหล่านี้จะลดลง.