วันอาทิตย์, 3 ธันวาคม 2566

โลกร้อน ระวัง "แลงยา" ไวรัสพันธุ์ใหม่ ระบาดแทนโควิดในอนาคตอันใกล้

06 ก.ค. 2023
51

สถานการณ์การระบาดของโควิดในขณะนี้ แม้จะซาลงไป แต่บทเรียนที่เกิดขึ้นได้ย้ำเตือนให้ทุกคนอย่าประมาท เพราะการระบาดสามารถปะทุขึ้นได้ตลอด จากการกลายพันธุ์ต่อเนื่องของเชื้อโวรัสโควิดที่ไม่หายไปจากโลกนี้ และขณะนี้หลายประเทศกำลังเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ เกรงว่าเชื้อไวรัสแลงยา (Langya) ซึ่งเป็นไวรัสตัวใหม่ อาจจะมีการระบาดแทนที่โควิด ภายหลังนักวิจัยมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการทางการแพทย์ เดือน มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่เชื้อไวรัสแลงยา จะแพร่ระบาดใหญ่เป็นวงกว้างtt ttหนูผี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กกินแมลงเป็นอาหาร เป็นรังโรคตามธรรมชาติ นำเชื้อไวรัสแลงยามาสู่คนแล้วที่มาที่ไปของไวรัสแลงยา เป็นอย่างไร และจะเป็นภัยคุกคามมวลมนุษย์ต่อจากโควิด จริงหรือไม่ในอนาคต “ศ.เกียรติคุณ วสันต์ จันทราทิตย์” หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ต้องออกมาแจ้งเตือนสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน เพื่อจะช่วยให้อัตราการติดเชื้อและการเสียชีวิตลดลง เพราะไวรัสแลงยา เป็น 1 ในสมาชิกกลุ่มไวรัสเฮนิปา (henipavirus) ซึ่งอาจมาแทนที่โควิด และล่าสุดส่งสัญญาณการระบาดในต่างประเทศแล้ว แต่ยังไม่มีรายงานในไทยไวรัสแลงยาระบาดครั้งแรกเมื่อปลายปี 2561 ในเมืองแลงยา มณฑลซานตง ประเทศจีน เมื่อชาวนาคนหนึ่ง มีอาการไข้เรื้อรัง รักษาไม่หาย และด้วยประเทศจีนมีเทคโนโลยีถอดรหัสพันธุกรรม ระดับต้นๆ ของโลก มีการเก็บตัวอย่างเชื้อในลำคอของผู้ป่วยมาถอดรหัสพันธุกรรม และนำชื่อเมืองมาตั้งชื่อว่าไวรัสแลงยา ต่อจากนั้นจนถึงปี 2565 มีคนทยอยติดเชื้ออีก 34 คน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร มีอาการเดียวกัน และจากการถอดรหัสพันธุกรรม พบว่าเป็นไวรัสตัวเดียวกันที่อยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กกินแมลงที่เรียกว่า “หนูผี” เป็นรังโรคตามธรรมชาติ นำเชื้อมาสู่คนเมื่อเอาตัวอย่างมาถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยี “เมตาเจโนมิกส์” ซึ่งคาดเดาไม่ได้จะพบอะไร จึงเอาสารพันธุกรรมจากสัตว์และคนมาถอดรหัส จนพบว่าเป็นสมาชิกใหม่อยู่ในตระกูลไวรัสเฮนิปา ถือเป็นไวรัสน่ากังวล เช่นเดียวกับไวรัสโม่เจียงที่ใกล้เคียงกับไวรัสแลงยา ถูกค้นพบเมื่อปี 2555 ในหนูและค้างคาวภายในถ้ำเหมืองตองกวน เมืองโม่เจียง ประเทศจีน มีคนงานเหมือง 6 คนป่วยด้วยอาการคล้ายโควิด และ 3 คนเสียชีวิตtt tt“ที่น่าแปลกในถ้ำแห่งนี้ ได้พบต้นตระกูลของไวรัสโควิด และไวรัสนิปาห์ เคยระบาดในมาเลเซียและสิงคโปร์ในปี 2542 มีผู้ติดเชื้อเกือบ 300 คน และเสียชีวิตมากกว่า 100 ศพ กระทั่งมีการระบาดเกือบทุกปีในบางส่วนของเอเชียใต้ตั้งแต่นั้นมา ส่วนใหญ่ในบังกลาเทศและอินเดีย ก่อนหน้านั้นไวรัสเฮนดรา ได้ระบาดเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2537 ในเมืองเฮนดรา ชานเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย มีม้า 13 ตัว และครูฝึกเสียชีวิต 1 ศพ”ไวรัสเหล่านี้อยู่ในกลุ่ม 7 สายพันธุ์ ซึ่งมีไวรัสเฮนดรา ไวรัสนิปาห์ ไวรัสซีดาร์ ไวรัสโม่เจียง ไวรัสกานา ไวรัสเอ็ม 74 และล่าสุดไวรัสแลงยา ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มใหม่ในตระกูลไวรัสเฮนิปา มีรูปแบบการระบาดคล้ายโควิด ส่วนกรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสแลงยา มีระยะฟักตัว 4-10 วัน จะมีอาการไอ จาม ปวดเมื่อยตัว มีไข้ เป็นอาการระบบทางเดินหายใจคล้ายโควิด และบางรายตับไตจะล้มเหลว แต่ไม่ถึงกับเสียชีวิต ไม่เหมือนกับไวรัสนิปาห์ ไวรัสโม่เจียง และไวรัสเฮนดรา มีอาการระบบทางเดินหายใจอักเสบรุนแรง อาจนำไปสู่โรคปอดบวม เช่นเดียวกับโควิด มีอัตราการเสียชีวิต 40-70%tt tt“คนสงสัยว่าทำไมกังวลไวรัสแลงยา หลังโควิดเริ่มซาลง มีผู้ติดเชื้อทั่วโลก 767 ล้านคน เสียชีวิต 6.9 ล้านคน และเพื่อไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย จึงต้องแจ้งเตือนให้คนเตรียมพร้อมรับมือโรคอุบัติใหม่ อาจก่อให้เกิดภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพทั่วโลกได้คล้ายกับโควิด เพราะเป็นไวรัสที่อยู่ในตระกูลไวรัสเฮนิปา เป็น 1 ใน 10 ไวรัสในบัญชีเฝ้าระวังขององค์การอนามัยโลก และนักวิจัยของออสเตรเลีย พบส่วนหนามของไวรัสแลงยา ใช้จับเซลล์และมุดเข้าไปในเซลล์มนุษย์ได้ดี เมื่อพบหนาม ก็สามารถทำยารักษาและพัฒนาวัคซีนป้องกัน เหมือนกับเชื้อไวรัส แลงยา โม่เจียง นิปาห์ และเฮนดรา เพื่อลดการเจ็บป่วยรุนแรง ลดการป่วยเรื้อรัง และลดการเสียชีวิต”tt ttในซีกโลกเหนืออาจไม่สนใจเท่ากับประเทศในเอเชียใต้ รวมถึงประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ จะต้องเตรียมพร้อมรับมือ ซึ่งโชคดีที่ไวรัสแลงยา ไม่พบในไทย แต่อย่าประมาท จะต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากภาวะโลกร้อน และคนมีอายุยืนมากขึ้น เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะมีความเสี่ยงเพราะภูมิคุ้มกันน้อยลง อีกทั้งคนเดินทางข้ามประเทศทางเครื่องบิน อาจนำเชื้อเข้ามาได้ และยิ่งอยู่ในสังคมเมือง คนอาศัยอยู่ในคอนโดฯ จะทำให้ติดเชื้อไดง่ายขึ้น โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจนอกจากนี้ยังกังวลว่าไวรัสแลงยา จะกลายพันธุ์เหมือนไวรัสต้นตระกูล หรือแม้กระทั่งโควิด ก็ยังไว้ใจไม่ได้ว่าจะหลายพันธุ์อีกหรือไม่ ทำให้ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ และสถาบันบำราศนราดูร จะต้องเตรียมพร้อมในการตรวจสอบรหัสพันธุกรรมอย่างรวดเร็ว เพื่อเข้าไปควบคุมหากพบไวรัสแลงยาแม้ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ มีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ประชาชน แต่ก็ต้องออกมาเตือนแต่ไม่ได้ชี้นำ เพราะอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ คาดว่ามีความเสี่ยงในการระบาดเข้าใกล้ตัวในระดับ 3-4 เท่านั้น หากการ์ดไม่ตก ไม่ใช่เฉพาะไวรัสแลงยา ยังมีไวรัสในบัญชีที่องค์การอนามัยโลกให้เฝ้าติดตามรับมือโรคอุบัติใหม่ คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้.