วันพุธ, 6 ธันวาคม 2566

ห่วงความพร้อมนัดถกแก้ถ่ายโอน รพ.สต. เร่ง อบจ.หาสายวิชาชีพมาประจำ

08 ก.ค. 2023
29

นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งจะมีการถ่ายโอนอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2566 ว่า สธ.มีความห่วงใยเรื่องความพร้อมของการถ่ายโอน เพราะมีประเด็นเรื่องการบริการ บุคลากร เนื่องจากการถ่ายโอนก่อนหน้านี้ พบว่ามีบางส่วนไม่พร้อม โดยเฉพาะการให้บริการจากแพทย์ ทันตแพทย์ บุคลากรที่มีใบประกอบวิชาชีพฯ แต่หลายแห่งไม่มี ทำให้ประชาชนต้องเดินทางมารักษาที่ รพ.ชุมชนแทนที่จะรับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิได้เหมือนเดิม ซึ่ง อบจ.ควรจัดหาแพทย์ ทันตแพทย์ บุคลากรให้พร้อม อย่างไร ก็ตาม ช่วงแรก สธ.เคยทำหนังสือว่ายินดีสนับสนุนการให้บริการประชาชน ระหว่างที่ทาง อบจ.จัดสรรหาบุคลากรสายวิชาชีพมาประจำ แต่เมื่อเวลาล่วงเลยไป บางแห่งยังไม่มีแพทย์หรือทันตแพทย์ สธ.ก็ไม่สามารถทิ้งประชาชนได้ เพราะจะกระทบต่อการบริการการดูแลรักษา จึงยังต้องให้การสนับสนุนการบริการเช่นเดิมผู้สื่อข่าวถามถึงกฎหมายถ่ายโอน รพ.สต.แล้ว งบประมาณต่างๆจัดส่งให้กับ อบจ.แล้ว สธ. ยังสามารถดำเนินการต่างๆเหมือนเดิมได้หรือไม่ นพ.พงศ์เกษมกล่าวว่า ได้ทำหนังสือไปยังสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในการมอบหมายภารกิจ ไปทั้งหมดแล้ว แต่ยังต้องช่วยในด้านบริหารจัดการ เช่น การซื้อหาเวชภัณฑ์การแพทย์ หรือยา ยังสามารถทำได้หรือไม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการตอบกลับจาก สตง. กรณีที่เกิดขึ้น หากพร้อมจริงๆต้องรับไปทั้งหมดต้องเป็น รพ.สต.ที่เติบโตได้ด้วยตนเอง โดยมี อบจ.เป็นฐาน ทั้งนี้ วันที่ 11 ก.ค.นี้จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการถ่ายโอนฯ เพื่อหารือถึงหาทางออกปัญหาต่างๆของการถ่ายโอนรอบที่ผ่านมา และการเตรียมพร้อมกับการถ่ายโอนรอบใหม่ในเดือน ต.ค.นี้เมื่อถามถึงกรณีมีข้อมูลส่งต่อกันถึงบุคลากรที่ถ่ายโอนไปต้องการกลับมา สธ.ประมาณ 423 คน นพ.พงศ์เกษมกล่าวว่า กำลังรวบรวมข้อมูล อย่างไร ก็ตาม คนที่ขอถ่ายโอนไปปีที่ผ่านมา เมื่อจะขอกลับคืนก็ต้องดูระเบียบด้วยว่า จะมีช่องทางไหนดำเนินการช่วยเหลือบุคลากรได้ สำหรับการถ่ายโอน รพ.สต.รอบใหม่ที่จะเริ่ม 1 ต.ค.66 นี้จะมีการเตรียมพร้อมอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำนั้น นพ.พงศ์เกษมกล่าวว่า ปีที่แล้วพบว่า คนที่ไม่ใช่ภารกิจของ รพ.สต.ก็มีการถ่ายโอนไปด้วย ดังนั้นครั้งนี้จะมีการปรับเงื่อนไขให้เหมาะสม ให้ตรงภารกิจจริงๆของหน่วยบริการปฐมภูมิที่ทำเรื่องส่งเสริมป้องกันโรค หรือการดูแลให้บริการที่ไม่ต้องอาศัยใบประกอบโรคศิลป์ในการ ประกอบวิชาชีพเวชปฏิบัติ.