วันศุกร์, 8 ธันวาคม 2566

เป็นไม่รู้ตัว ต้นเหตุ “มดดำ” หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เครียดนอนน้อย จุดต่างจากอัมพฤกษ์-อัมพาต

09 ก.ค. 2023
32

มดดำ คชาภา หน้าเบี้ยวครึ่งซีก หลังทำงานเครียดจนเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ ทำเอาแฟนคลับเป็นห่วง เนื่องจากเครียดและพักผ่อนน้อย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า อาการโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกมีโอกาสพบได้มาก เป็นได้ทุกเพศทุกวัย สาเหตุหลักมาจากเชื้อไวรัสที่แฝงอยู่ในร่างกาย รอเวลาภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำจึงแสดงอาการเฉียบพลัน หากไม่รักษาเร็ว กล้ามเนื้อใบหน้าจะฝ่อระยะยาวtt ttมดดำ คชาภา เปิดเผยในรายการข่าวใส่ไข่ ทางไทยรัฐทีวี เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ถึงอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หลังจากที่แฟนคลับที่ชมรายการ ส่งข้อความผ่านหน้าจอ ถึงลักษณะผิดปกติ โดยเจ้าตัวเปิดเผยในรายการว่า เกิดจากการพักผ่อนน้อย มีภาวะเครียด ทำให้มีอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก สาเหตุมาจากอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ มีผลมาจากการอักเสบของเส้นประสาทเส้นที่ 7 หลังพบแพทย์ได้ประเมินอาการ ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 3 วันเป็นอย่างน้อยโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรืออัมพาตเบลล์ (Bell’s Pasly) ผู้ป่วยมักเป็นอย่างเฉียบพลันแบบไม่รู้ตัว รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยกับทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ว่า คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก มีความวิตกกังวลว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งไม่มีความเชื่อมโยงกันtt ttเนื่องจากอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีกสาเหตุมาจากเส้นประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ มีหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้า โอกาสที่ทำให้เกิดมาจากการติดเชื้อไวรัส เช่น โรคเริม งูสวัด อีสุกอีใส จะแฝงอยู่ในร่างกาย รอเวลาที่ร่างกายอ่อนแอ แล้วทำให้เกิดอาการดังกล่าว จากสถิติพบว่าคนไทยมีโอกาสเกิดโรคนี้ 1 ใน 5,000 รายคนไข้ที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่มีร่างกายแข็งแรง แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการพักผ่อนน้อย เครียด ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง มีผลทำให้เชื้อไวรัสเข้าไปโจมตีเส้นประสาทคู่ที่ 7 จนมีอาการอักเสบอาการของโรคแสดงแบบเฉียบพลัน และไม่มีอาการของโรคแสดงให้เห็นมาก่อน เมื่อเป็นแล้วทำให้ผู้ที่เป็นมีความวิตกกังวลสูง เพราะอาการบิดเบี้ยวบริเวณใบหน้าส่งผลต่อการทำงาน การดำรงชีวิต แต่อาการต่างจากโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ที่มีแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย โดยโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ทุกอย่างเป็นปกติ ยกเว้นบริเวณใบหน้า จึงควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาtt tt“คนไข้สามารถสังเกตตัวเองได้ หากริมฝีปากข้างหนึ่งตก น้ำลายไหล โดยไม่สามารถควบคุมได้ ใบหน้าข้างหนึ่งมีภาวะหนังตาตก ถ้าดูทั้งใบหน้าอาจไม่ผิดสังเกต แต่ต้องดูบริเวณริมฝีปาก และหนังตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือระหว่างการแปรงฟัน รับประทานอาหาร มีน้ำลายไหลลงมาโดยไม่สามารถควบคุมได้ แสดงถึงความผิดปกติของโรค ซึ่งโรคนี้ยังไม่มีการยืนยันว่าจะนำไปสู่โรคที่อันตรายอื่น”สำหรับการรักษาต้องมีการกายภาพบำบัดใบหน้า เพื่อให้กล้ามเนื้อบนใบหน้ากลับมาเป็นปกติ ควบคู่กับการทานยาแก้อักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ เมื่อคนไข้เป็นไม่ควรปล่อยให้มีอาการนานเกินไป เพราะกล้ามเนื้อบนใบหน้าจะฝ่อจนอ่อนแรง ทำให้ใบหน้าผิดใบจากแบบเดิมได้ผู้ป่วยที่เป็นแล้วรักษาหายแล้ว ก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ หากดูแลร่างกายไม่ดี พักผ่อนไม่เพียงพอ ปัจจุบันโรคนี้เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงาน จึงอยากให้มีการแบ่งเวลาในการพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม.