วันเสาร์, 9 ธันวาคม 2566

สะพานถล่ม เหตุสลดซ้ำซาก มาตรฐานการก่อสร้างที่ประชาชนแบกรับความเสี่ยง

10 ก.ค. 2023
26

สะพานถล่มบริเวณทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเกิดพังถล่มลงมาทับรถและประชาชนที่สัญจรไปมา จนมีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย และเบื้องต้นมีรายงานมีผู้บาดเจ็บจากเศษปูนบนสะพานที่ถล่มแล้ว 8 ราย เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยบนท้องถนนมองว่าหน่วยงานรัฐควรปรับเปลี่ยนกฎด้านความปลอดภัยของการก่อสร้างบนพื้นที่ท้องถนน รวมถึงโทษฐานความผิดให้หนักเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าtt ttในที่เกิดเหตุเป็นโครงการก่อสร้างทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง โดยโครงสร้างทางยกระดับทั้งตัวคาน และเสา พังลงมาจากความสูงประมาณ 20 เมตร ทำให้เศษปูนและเสาหล่นทับรถที่โดยสารผ่านไปมาบริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหาย และมีประชาชน รวมถึงคนงานก่อสร้างได้รับบาดเจ็บ จากอุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้การจราจรบริเวณดังกล่าวติดขัดเป็นวงกว้างเบื้องต้นมีรายงานว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกเศษปูนถล่ม 8 ราย เสียชีวิตในจุดเกิดเหตุ 1 ราย และยังมีรถติดอยู่ในซากปูนอีกจำนวนหลายคัน ด้าน กทม.ชี้แจงเบื้องต้นว่า ตัว Launcher สำหรับร้อยติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีต เซกเมนต์ (Concrete Segment) ซึ่งเป็นพื้นทางของทางยกระดับเกิดพลิกตัว ทำให้พื้นทางที่อยู่ระหว่างการติดตั้งช่วงดังกล่าวหลุดจากหัวเสาตอม่อถล่มลงมา สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ ซึ่งหลังจากนี้ต้องทำการตรวจสอบให้ชัดเจนอีกครั้งtt ttพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) ให้ความเห็น ทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ว่า ที่ผ่านมามีหลายเหตุการณ์ที่เกิดจากอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างมาแล้วหลายครั้ง แต่สุดท้ายเรื่องราวก็เงียบไป โดยไม่มีการแก้ไขกฎหมาย หรือวางมาตรฐานการลงโทษหน่วยงานที่ก่อสร้างให้มีมาตรฐานมากขึ้นกว่าเดิมดังนั้นสิ่งที่อยากเรียกร้องคือ ให้หน่วยงานภาครัฐมีมาตรฐานการปฏิบัติด้านความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างที่มากขึ้น โดยจะต้องมีวิศวกรผู้คุมงานอยู่หน้างานจริงๆ ไม่ใช่ให้คนงานมาคุมกันเอง หรือจ้างวิศวกรฟรีแลนซ์มาทำงานแทน ขณะเดียวกันที่ผ่านมาเมื่อเกิดเหตุร้ายกับผู้ใช้ถนน มักมีการอ้างว่ามีป้ายเตือนให้ผู้ใช้ถนนระวัง แต่ไม่ดูถึงเหตุปัจจัยความปลอดภัยของผู้ที่กำลังก่อสร้าง ซึ่งต่างจากประเทศในยุโรป แค่หน่วยงานที่มาก่อสร้างทำถนนเป็นหลุม แล้วคนที่สัญจรตกหลุมจนเกิดอุบัติเหตุ แล้วก็ต้องรับผิดชอบ แต่ของไทยจะอ้างว่า ก่อนจะถึงมีป้ายแจ้งเตือนว่ากำลังก่อสร้าง จึงถือเป็นการโยนภาระให้กับประชาชนที่ใช้ถนนtt ttขณะเดียวกันอยากให้หน่วยงานรัฐมีการเพิ่มโทษผู้ที่ทำการก่อสร้างแล้วเกิดอุบัติเหตุให้หนักกว่าเดิมถึง 10 เท่า เพราะที่ผ่านมามีแค่การปรับไม่กี่แสนบาท แล้วสุดท้ายเรื่องก็เงียบไป แล้วยังไม่มีการติดตามว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบได้รับการชดเชยอย่างเหมาะสมหรือไม่ เพราะอย่าลืมว่าผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ หรือคนงานที่บาดเจ็บ เขาอาจจะขาดรายได้ และส่งผลกระทบถึงครอบครัวพื้นที่ในกรุงเทพฯ และชานเมือง เป็นอีกจุดเสี่ยงที่มีการก่อสร้างบนพื้นถนนจำนวนมาก น่าจะถึงเวลาที่ต้องมีการลงโทษกับผู้ที่ก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน และละเลยความปลอดภัยของคนงานและผู้ใช้ถนนให้จริงจังมากขึ้นกว่านี้.