











เปิดขั้นตอน โหวตนายกรัฐมนตรี 13 ก.ค.นี้ ลุ้นชื่อ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีหัวหน้าพรรคก้าวไกล ขึ้นแท่น “นายกฯ คนที่ 30” กูรูหลายสำนัก วิเคราะห์ตรงกัน ขวากหนามสำคัญที่จะไปถึง 376 เสียง ของพรรคก้าวไกลและพิธา คือ 250 ส.ว. (สมาชิกวุฒิสภา) จากปมแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112โหวตนายกฯ รธน.กำหนด ลงคะแนนโดยเปิดเผย ให้ขานชื่อ เรียงลำดับตามตัวอักษร ต้องได้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งจาก 2 สภา ส.ส. + ส.ว. 750 เสียง มากกว่ากึ่งหนึ่ง 376 เสียงขึ้นไป tt ttการเมืองไทย ตอนนี้ ถนนทุกสายมุ่งไปสู่วันพฤหัสบดีที่ 13 ก.ค. 2566 เมื่อนายวันมูฮัมหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภา นัดวันโหวตนายกรัฐมนตรี ที่แน่นอนว่ามีชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่ 8 พรรคร่วมรัฐบาล มัดรวม 312 เสียง จะทำการโหวต tt ttซึ่งถือเป็นด่านแรก ที่ฝ่ายพรรคก้าวไกลโดยนายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ก็ออกระบุว่า มีความมั่นใจ อาจโหวตผ่านได้ในม้วนเดียว และมีการเข้าชี้แจงขอเสียงจาก ส.ว. จนสถานการณ์ดีขึ้น ถึงขั้นคะแนน ส.ว. ที่ขาดอยู่ 64 เสียง ได้ครบแล้ว ขณะกูรูจากหลายสำนักต่างก็วิเคราะห์ตรงกัน ขวากหนามสำคัญที่จะมีเสียงถึง 376 เสียง คือ 250 ส.ว. (สมาชิกวุฒิสภา) จากปมแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112tt ttล่าสุด เมื่อวานที่ผ่านมา (9ก.ค.) มีรายงานข่าวว่า วันนี้ (10ก.ค.) กกต.จ่อถก ส่งศาลรธน.วินิจฉัยปมคุณสมบัติถือหุ้นไอทีวี ของ “พิธา” หลังสอบข้อเท็จจริง สรุปสำนวนเสร็จสิ้น และอาจกระทบโหวตนายกฯ 13 ก.ค.นี้tt ttขณะที่เจ้าตัว “พิธา” ซึ่งอยู่ระหว่างเดินสายปลุกเร้ามวลชนถี่ยิบไปทั่วประเทศ ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ ยืนยันว่า ไม่กังวล ถูก กกต.ยื่นศาลรธน.วินิจฉัยสถานภาพ ส.ส. ปมถือหุ้น ไอทีวี พร้อมบอก คาดการณ์ไว้แล้ว เชื่อ ไม่มีผลต่อการตัดสินใจของ ส.ว.ในการโหวตนั่งเก้าอี้นายกฯtt ttฉะนั้นหากสังเกตให้ดี กลยุทธ์ที่พรรคก้าวไกลและ “พิธา” ใช้ในตอนนี้ ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า คือ การ “เดินสายปลุกกระแสประชาชนและกองเชียร์” ไปทั่วประเทศ เพื่อให้ได้รับการโหวตจากสภาทั้ง 750 คน เป็นนายกรัฐมนตรี tt ttงานนี้รอบแรกหากยังฝ่าไปไม่ได้ ก็จะมีการเสนอชื่อนายพิธาอีกเป็นคำรบ 2 ในวันที่ 19 ก.ค.และ 20 ก.ค. แน่นอน ส่วนจะมีรอบ 3 อีกหรือไม่ ใช้คำว่าต้องมาหารือกันในสภาและ 8 พรรคการเมืองร่วมรัฐบาล อันนี้เหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้น ก็ต้องรอชม ว่าผลลัพธ์ลงท้ายจะเป็นเช่นไร เบื้องต้น ก่อนถึงวันที่ 13 ก.ค. พี่น้องประชาชน คอการเมืองส่วนใหญ่ ตอนนี้ สนใจ “พิธา” จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 รวมทั้ง อยากทราบขั้นตอนการโหวตนายกรัฐมนตรี ด้วยtt ttเปิดขั้นตอนการโหวตนายกฯ หลังเลือกตั้ง กกต.ประกาศรับรองผลเลือกตั้งเรียบร้อย ส.ส.ทั้งสภาฯ มี 500 คน โดยปกติ พรรคการเมืองใด หรือขั้วการเมืองไหน ได้เสียง ส.ส. เกินครึ่งสภาผู้แทนฯ ก็สามารถรวมเสียงจัดรัฐบาล เลือกนายกฯ กันได้แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดว่า “ในระหว่าง 5 ปีแรกของรัฐสภาชุดแรกนี้ มติเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลใดเป็นนายกรัฐมนตรี ให้กระทำในที่ประชุมร่วมรัฐสภา และต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา”tt tt”ซึ่งการโหวตนายกฯ ให้กระทำโดยเปิดเผย โดยเรียกชื่อสมาชิกรัฐสภาตามลำดับอักษร ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นรายคน ตามวิธีที่ประธานกำหนดคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของ 2 สภารวมกัน หมายความว่า การเลือกนายกฯ ให้ วุฒิสภา หรือ ส.ว. เข้ามาร่วมโหวต นายกฯ กับ สภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.สภาผู้แทนฯ หรือ ส.ส. มีจำนวน 500 คน วุฒิสภา หรือ ส.ว. มีจำนวน 250 คน สองสภารวมกัน 750 คน กึ่งหนึ่งคือ 375 คนดังนั้นคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งจาก 2 สภารวมกันก็คือ 376 คนขึ้นไป”tt ttการเสนอโหวต นายกฯ มาด้วยช่องทางใดซึ่งตามกรอบกฎหมายระบุว่า ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแจ้งรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่า จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เกิน 3 รายชื่อ ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวให้ประชาชนทราบ1. นายกฯ จากบัญชีพรรค โดยช่วงเปิดสมัคร ส.ส. กฎหมายกำหนดให้พรรคการเมืองส่งบัญชีรายชื่อผู้ชิงตำแหน่งนายกฯ มาด้วยไม่เกิน 3 รายชื่อ หรือบางพรรคจะไม่ส่งบัญชีนายกฯ เลย ก็ทำได้เบื้องต้นในการโหวต…ต้องเป็นชื่อนายกฯ จากบัญชีพรรค ที่ได้รับเลือกตั้ง ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละห้า หรือจากพรรคที่ได้ ส.ส. ไม่น้อยกว่า 25 คนและการเสนอชื่อ แคนดิเดตนายกฯ จากบัญชีพรรค ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร (หรือมี ส.ส. 50 คน รับรอง)การลงมติโหวตนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ ต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา กำหนด+ให้ ขานชื่อ แบบเปิดเผยเรียงลำดับตามตัวอักษร ตามที่ประธานกำหนดและกระบวนการโหวตนายกฯ ตามกฎหมาย ใช้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งจาก 2 สภารวมกัน ส.ส. + ส.ว. กึ่งหนึ่งคือ 750 เสียง มากกว่ากึ่งหนึ่งก็คือ 376 เสียงขึ้นไป ใครได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง ก็ได้เป็นนายกฯtt tt2. นายกฯ นอกบัญชีพรรค คือไม่อยู่ในบัญชีที่พรรคได้แจ้งไว้ กรณีนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อ.. การเลือกนายกฯ จากบัญชีพรรคไม่สามารถเลือกได้.. ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆซึ่งรัฐธรรมนูญเขียนเปิดช่องให้ สมาชิก 2 สภา รวมกันไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 375 คน สามารถเข้าชื่อเสนอให้มีการประชุมรัฐสภาเพื่อยกเว้นเงื่อนไขเลือกนายกฯ จากบัญชีพรรค และหาก 2 สภามีมติด้วยเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 หรือ 500 คน รัฐสภาก็สามารถเลือก นายกฯ จากบุคคลนอกบัญชีพรรคได้ซึ่งกระบวนการโหวต นายกฯ นอกบัญชีพรรค… ก็ใช้เสียง มากกว่ากึ่งหนึ่งจาก 2 สภารวมกัน นั่นคือ 376 คนขึ้นไป ก็ได้เป็นนายกฯอนึ่ง.. ด้วยกติกาการ โหวตนายกฯ ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ คือ นับจากปี 2562-2567 ให้ ส.ว. เข้ามาร่วมโหวตนายกฯ ไปด้วย ดังนั้น ใคร? จะมาเป็นนายกฯ ถ้าได้เสียงสนับสนุนจาก วุฒิสภา ที่มี 250 เสียง ก็ถือว่ามีแต้มต่อ (ซึ่ง ส.ว. คัดเลือกโดย คสช. หรือ 3 ป. เป็นคนเลือกมากับมือ)ก็อย่างว่า ใครกุมเสียง ส.ว. 250 คนได้… จะหนุนใคร หรือ จะนิ่ง (งดออกเสียง) ให้ใคร ล้วน สั่นสะเทือน!!tt ttจับตา ด่านแรก 13 ก.ค. 2566 นี้ ชื่อ “พิธา” จะฝ่าด่านตัวเลข 376 เสียง ในสภาได้หรือไม่? ยังไม่ต้องพูดถึง ด่าน 2 ในวันที่ 19 ก.ค. หากชื่อทิม พิธา ยังไม่ผ่านมาถึงนาทีนี้ ต้องบอกว่า ดูกับแบบ “วันต่อวัน” หรือ “นาทีต่อนาที” ขึ้นชื่อว่า “การเมือง” อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ ผู้เขียน: เดชจิวยี่ กราฟิก:Varanya.p