วันอาทิตย์, 3 ธันวาคม 2566

คลื่นความร้อนรุนแรง ภัยเงียบคร่าชีวิตผู้สูงวัย

นักวิจัยประมาณการ ว่ามีประชาชนในยุโรปต้องสังเวยชีวิตจากคลื่นความร้อนมากกว่า 61,000 คน ในปี 2022 นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สูงที่สุดในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไปที่น่าตกใจกว่านั้นคือตัวเลขการเสียชีวิตจากคลื่นความร้อนในยุโรปในระดับนี้ อาจจะกลายเป็นเรื่องปกติที่จะต้องพบเจอทุกปีนับไปจนถึงปี 2030 และตัวเลขจะเพิ่มขึ้นในระดับเกือบ 1 แสนคนภายในปี 2040ตัวเลขที่พบในงานวิจัยเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนว่า แผนป้องกันและรับมือคลื่นความร้อนในยุโรปในขณะนี้ อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงของประชาชนสูงวัยที่จะต้องเผชิญ กับสภาพอากาศรุนแรงมากขึ้นหลังจากนี้ ใครจะไปคิดว่าคลื่นความร้อนจะกลายเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกจำนวนมากโดยไม่รู้ตัว เมื่อผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ เนเจอร์ เมดิซิน เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาพบว่า มีชาวยุโรปผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนรุนแรงในช่วงระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม จนถึง 4 กันยายนเมื่อปีที่แล้วมากถึง 61,672 ศพ โดยประเทศอิตาลีเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด โดยมีผู้เสียชีวิตถึง 18,000 ศพ ตามมาด้วยสเปนที่มีผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนรวมกว่า 11,000 ศพ และเยอรมนีอีกราว 8,000 ศพ ส่วนที่อังกฤษ คาดว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุณหภูมิที่พุ่งสูงราว 3,469 ศพ ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งทั้ง 4 ประเทศเผชิญกับอุณหภูมิเฉลี่ยสูงเกิน 40 องศาเซลเซียสtt ttและหากเทียบอัตราการเสียชีวิตจากคลื่นความร้อนเมื่อปีที่ผ่านมาเทียบต่อประชากร 1 ล้านคน พบว่าอิตาลีมาเป็นอันดับ 1 ที่ 295 รายต่อ 1 ล้านคน ตามมาด้วยกรีซ 280 รายต่อ 1 ล้านคน สเปน 237 รายต่อ 1 ล้านคน โปรตุเกส 211 รายต่อ 1 ล้านคน อังกฤษ 52 รายต่อ 1 ล้านคนนักวิจัยยังพบด้วยว่าสภาพอากาศร้อนจัดเป็นอันตรายต่อกลุ่มผู้สูงอายุและผู้หญิงมากที่สุด โดยอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความร้อนในกลุ่มผู้หญิง สูงกว่ากลุ่มผู้ชายถึง 63 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับอายุก็เป็นปัจจัยสำคัญ โดยพบว่ายอดเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไปtt ttโจน บัลเลสเตอร์ นักระบาดวิทยา แห่ง ไอเอสโกลบอล ผู้นำงานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่านี่คือตัวเลขที่เยอะมากจนน่าตกใจ โดยงานวิจัยชิ้นนี้นับเป็นการวิเคราะห์ตัวเลขจำนวนผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อน ในช่วงฤดูร้อนที่แล้วเป็นครั้งแรก แม้ว่าก่อนหน้านี้ทางยูโรสแตท ซึ่งเป็นสำนักงานสถิติของยุโรปจะพยายามเก็บข้อมูลยอดรวมการเสียชีวิตจากคลื่นความร้อน ด้วยการนับจำนวนผู้เสียชีวิตที่มากเกินจำนวนนักวิจัยยังได้วิเคราะห์อุณหภูมิกับข้อมูลการเสียชีวิตในระหว่างปี 2015 และ 2033 ในกลุ่มประเทศยุโรป 35 ประเทศ ที่มีประชากรรวม543 ล้านคน และสร้างแบบจำลองทางระบาดวิทยาขึ้นมาเพื่อคำนวณอัตราการเสียชีวิตที่เชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับความร้อนขึ้นมา ทำให้คาดการณ์ตัวเลขการเสียชีวิตได้ค่อนข้างแม่นยำtt ttโดยภายในปี 2030 ชาวยุโรปจะเสียชีวิตจากคลื่นความร้อนโดยเฉลี่ยมากกว่า 68,000 ศพ และตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 94,000 คน ภายในปี 2040 หากยังไม่มีการเปลี่ยนแผนรับมือดร.ฮิชาม เอชแบก หนึ่งในผู้นำงานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า ตัวเลขที่เปิดเผยออกมา สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการประเมิน และปรับแผนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรับมือ และป้องกันคลื่นความร้อนในอนาคต และหากประเทศใดที่ล้มเหลวในการรับมือ ผู้ที่จะต้องชดใช้ด้วยชีวิตคือบรรดาผู้สูงอายุtt ttด้าน ดร.ราเควล นูเนส ศาสตราจารย์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และสาธารณสุข แห่งโรงเรียนการแพทย์วอร์วิก ระบุว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงจากสภาพอากาศร้อนจัดมีด้วยกันหลายปัจจัยประการแรก เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็จะมีประสิทธิภาพลดลงในการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ทำให้ยากต่อการรักษาอุณหภูมิภายในให้คงที่ได้ และเมื่อร่างกายไม่สามารถปรับให้อุณหภูมิลดลง ก็นำไปสู่การเสียชีวิตได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงประการที่สอง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคทางเดินหายใจ ซึ่งอาการจะรุนแรงขึ้นเมื่อเจอกับความร้อน และด้วยสภาพสังคมในยุโรปที่มักจะปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่เพียงลำพัง และความไม่คล่องตัวในการเคลื่อนที่ ทำให้พวกเขาไม่สามารถหนีไปอยู่ในที่ที่อากาศเย็นได้ทันเวลาผลงานวิจัยที่เผยแพร่ออกมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงอันตรายจากคลื่นความร้อนที่มีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง และแม้ว่าในหลายประเทศอาจจะยังไม่เห็นตัวเลขความสูญเสียที่ชัดเจนจากคลื่นความร้อน เนื่องจากยังไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างจริงจัง แต่สภาพอากาศโลกที่ร้อนขึ้นทุกวัน ก็ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกต้องศึกษาเรื่องนี้เป็นบทเรียน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ เพราะทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบเดียวกัน และไม่มีใครที่จะสามารถจะหลีกหนีภัยเงียบนี้ได้.ผู้เขียน : อาจุมมาโอปอลที่มา : CNN , Telegraph