นายอำเภอชื่นชม จ.มหาสารคาม แนะนำชาวบ้านรับมือน้ำท่วมขังในหมู่บ้านด้วยการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ด้วยต้นทุนหลักพัน สามารถลดปัญหาน้ำท่วมขัง บำบัดน้ำเสีย แหล่งเพาะพันธุ์ยุง สร้างความชุ่มชื้นในยามแล้ง และสุขภาวะที่ดีในชุมชนผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านหนองผักแว่น ตำบลเหล่าดอกไม้ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม นางสาวอิงอร ปรีฉันท์ นายอำเภอชื่นชม เปิดเผยว่า ตนเองได้นำประโยชน์จากธนาคารน้ำใต้ดิน คือ การลดน้ำท่วมขังได้ในช่วงหน้าฝน สามารถกักน้ำส่วนเกินดังกล่าวให้มาเป็นความชุ่มชื้นในหน้าแล้ง และชุมชนยังสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่รอบๆ ผิวดินของธนาคารน้ำได้ปกติ โดยใช้ธนาคารน้ำใต้ดินแบบระบบปิด ที่ทำไว้บริหารจัดการน้ำจากน้ำเสีย หลังจากที่ได้ทำการล้างถ้วยชาม น้ำจากห้องน้ำ และน้ำฝนที่ตกลงชายคา เป็นการแก้ปัญหาน้ำขัง และยังไม่ก่อให้เกิดเชื้อโรคและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะไข้เลือดออกtt ttนายอำเภอชื่นชม กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ได้นำเอาปลัดอำเภอ ร่วมกับ อบต.เหล่าดอกไม้ ผู้ใหญ่บ้าน อสม. และชาวบ้าน ลงพื้นที่ทำความสะอาดร่องระบายน้ำในหมู่บ้านหนองผักแว่น เพื่อแก้ไขปัญหาการระบายน้ำ น้ำเน่าน้ำเสียจากครัวเรือน ไม่ให้ไหลลงสู่ถนนภายในหมู่บ้าน ส่งผลให้ถนนสะอาด ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในหมู่บ้านดีขึ้น tt ttด้าน นายแพร นาคแย้ม กำนันตำบลเหล่าดอกไม้ อ.ชื่นชม จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ทางด้านนายอำเภอชื่นชมได้มาแนะนำให้ชาวบ้านทำธนาคารน้ำแบบระบบปิดไว้ใช้กันในหมู่บ้าน เพราะมีต้นทุนการทำเพียงหลักพันบาท มีน้ำท่วมขังตรงไหน ให้ขุดทำตรงนั้น ช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขัง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เป็นพาหะโรคไข้เลือดออก และยังช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในบริเวณที่อยู่อาศัย เป็นการบริหารจัดการน้ำที่ต้นทาง หรือหาแหล่งที่อยู่ให้กับน้ำในพื้นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน เพื่อไม่ให้เป็นภาระของหน่วยงาน และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างสุขภาวะในชุมชนให้ดีอีกด้วยtt ttสำหรับขั้นตอนทำธนาคารน้ำแบบระบบปิด ที่แนะนำแก่ชาวบ้าน มีวิธีการทำดังนี้๑. การเลือกพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ขุดลึกลงไป ๑.๕-๒ เมตร ๒. ให้เจาะสะดือเพิ่ม ลึกลงไปอีก ๕๐ เซนติเมตร ๓. ใส่หิน ๓/๔ หรือหินกรวดลงไป ชั้นที่ ๑ และวางท่อพีวีซี ขนาด ๒ นิ้ว ลงไป ๔. ใส่หิน ชั้นที่ ๒ ใส่หินลิบแลบหรือเศษอิฐ ขนาด ๑๕-๒๐ เซนติเมตร (๑ เมตร) ๕. ชั้นที่ ๓ ก้อนอีเอ็ม ๗๐ เซนติเมตร ๖. ชั้นที่ ๔ ถ่าน ๒๐ เซนติเมตร ๗. ชั้นที่ ๕ จีโอเท็กซ์ไทล์ ๘. ชั้นที่ ๖ หิน ๓/๔ หรือหินกรวดหนา ๑๐ เซนติเมตรtt tt
นอภ.ชื่นชม แนะชาวบ้านทำธนาคารน้ำใต้ดิน ลดน้ำท่วมขัง สร้างสุขภาวะที่ดีในชุมชน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง