วันศุกร์, 29 กันยายน 2566

สหรัฐ-อิหร่าน แลกตัวนักโทษ ๕ อเมริกันเป็นอิสระ หลังถูกขังนานกว่า ๕ ปี

Image
ชาวอเมริกัน ๕ คนที่ถูกควบคุมตัวในประเทศอิหร่าน ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระแล้ว ภายใต้ข้อตกลงแลกตัวนักโทษซึ่งสหรัฐฯ ยอมเลิกอายัดเงิน ๖ พันล้านดอลลาร์ของอิหร่านสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ชาวอเมริกัน ๕ คนที่ถูกคุมขังในประเทศอิหร่านได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระแล้ว ในวันจันทร์ที่ ๑๘ ก.ย. ๒๕๖๖ และกำลังเดินทางกลับสหรัฐฯ โดยในเบื้องต้นพวกเขาถึงกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์แล้ว ขณะที่ฝ่ายสหรัฐฯ ก็ปล่อยตัวนักโทษชาวอิหร่าน ๕ คนเช่นกันการปล่อยตัวนักโทษดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงขนาดใหญ่กว่าระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน ซึ่งรวมถึงการยกเลิกการอายัดเงินจากกองทุนอิหร่านมูลค่า ๖ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นรายได้จากการขายน้ำมันในอดีตของอิหร่านที่ถูกธนาคารกลางเกาหลีใต้อายัดไว้นักโทษชาวอเมริกันที่ได้รับการปล่อยตัวมีการเปิดเผยชื่อออกมาเพียง ๓ คนได้แก่นาย เอมัด ชาร์กี, โมราด ทาห์บาซ และเชียมัค นามาซี ซึ่งทั้งหมดถูกคุมขังมานานกว่า ๕ ปีแล้ว โดยในนามาซีถูกควบคุมตัวตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ในวันจันทร์ แสดงความยินดีกับการปล่อยตัวชาวอเมริกันทั้ง ๕ คน “ในที่สุด วันนี้ชาวอเมริกันผู้บริสุทธิ์ ๕ คนผู้ถูกคุมขังในอิหร่านก็ได้กลับบ้าน” เขายังขอบคุณรัฐบาลกาตาร์, โอมาน, สวิตเซอร์แลนด์ และเกาหลีใต้ ที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งนี้เกิดขึ้นด้วยทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนตัวนักโทษล่าสุดถูกมองว่าเป็นการฝ่าทางตันทางการทูตอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากสหรัฐฯ กับอิหร่าน ซึ่งเป็นอริมานานกว่า ๔๐ ปี เจรจากันทางอ้อมโดยมีกาตาร์เป็นตัวกลางมานานหลายปี โดยความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศยิ่งแย่ลงหลังจากอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ พาสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านในปี ๒๕๖๑ และกลับมาใช้มาตรการคว่ำบาตรอีกครั้งตอนนี้ยังไม่แน่ชัดว่าการแลกเปลี่ยนนักโทษดังกล่าวจะนำความคืบหน้ามาสู่ปัญหาอื่นๆ ระหว่างทั้งสองประเทศหรือไม่ แต่เจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลไบเดนคนหนึ่ง บอกกับซีเอ็นเอ็นว่า ข้อตกลงนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ กับอิหร่านไปในทางใดเลย และสหรัฐฯ จะพยายามเอาผิดอิหร่านเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนและควบคุมโครงการนิวเคลียร์ต่อไปอนึ่ง ภายใต้ข้อตกลงระหว่างทั้งสองประเทศ สหรัฐฯ  กำหนดเงื่อนไขการโอนเงินดังกล่าวจำกัดเฉพาะการนำไปใช้ในการจัดซื้อสินค้าต่างๆ ที่จำเป็นด้านมนุษยธรรมของอิหร่านเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงนี้ถูกนักการเมืองฝ่ายรีพับลิกันวิพากษ์วิจารณ์ว่าเหมือนเป็นการจ่ายเงินค่าไถ่นายไบเดนยังประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ ต่อนายมาห์มูด อาห์มาดิเนจาด อดีตประธานาธิบดีอิหร่าน กับกระทรวงข่าวกรองอิหร่าน ฐานเกี่ยวข้องกับการจับกุมตัวอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คลายกับว่าไบเดนต้องการลดเสียงวิจารณ์จากฝ่ายรีพับลิกัน และแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่ออิหร่านต่อไปติดตามข่าวต่างประเทศ : https://www.thairath.co.th/news/foreignที่มา : reuters , cnn