นักวิทยาศาสตร์ในเดนมาร์ก รายงานผลการศึกษาใหม่ พบธารน้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลายเร็วกว่า ๒๐ ปีที่แล้วถึง ๕ เท่า สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนในเดนมาร์ก เปิดเผยวานนี้ (๑๐ พ.ย.) พบธารน้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลายเร็วกว่าช่วง ๒๐ ปีที่แล้วถึง ๕ เท่า ในขณะที่การละลายของธารน้ำแข็งในกรีนแลนด์ จากภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดความกังวลเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นแผ่นธารน้ำแข็งโบราณที่กักเก็บน้ำไว้ปริมาณมหาศาล ซึ่งหากธารน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายจนหมด จะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นอย่างน้อย ๖ เมตรเลยทีเดียวAnders Anker Bjork ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาธรณีศาสตร์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน กล่าวว่า การศึกษาธารน้ำแข็งนับพันแห่งในกรีนแลนด์ แสดงให้เห็นว่ามีอัตราการละลายที่เร็วกว่าเมื่อ ๒๐ ปีก่อน พร้อมกับชี้ว่า อัตราการละลายของธารน้ำแข็งได้เข้าสู่เฟสใหม่ในช่วง ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งการละลายก็มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกจากการศึกษาวิวัฒนาการของธารน้ำแข็งในกรีนแลนด์ในช่วง ๑๓๐ ปีผ่านภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายเก่าๆ ๒๐๐,๐๐๐ ภาพ พบว่า ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา ความหนาของธารน้ำแข็งลดลงเฉลี่ย ๒๕ เมตรต่อปี ขณะที่ ๒ ทศวรรษก่อนหน้านั้น ธารน้ำแข็งลดลงเฉลี่ย ปีละ ๕-๖ เมตรธารน้ำแข็งในกรีนแลนด์มักถูกใช้เป็นตัวชี้วัดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน โดยที่ระหว่างปี ๒๕๔๙-๒๕๕๖ แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์มีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ๑๗.๓% และที่ธารน้ำแข็งมีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ๒๑%ก่อนหน้านี้ Copernicus Climate Change Service (C๓S) หน่วยงานดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป ได้เผยข้อมูลใหม่ที่ชี้ว่า “ค่อนข้างเป็นที่แน่นอน” ว่าปี ๒๕๖๖ จะเป็นปีที่โลกร้อนสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ ๑๒๕,๐๐๐ ปีติดตามข่าวต่างประเทศได้ที่ : https://www.thairath.co.th/news/foreignที่มา : Reuters
ธารน้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลายเร็ว กว่า ๒๐ ปีที่แล้ว ถึง ๕ เท่า
เรื่องที่เกี่ยวข้อง