Sunday, 15 September 2024

ฉลองครบรอบ ๑๐ ปี ภารกิจกล้องนีโอไวส์

“นีโอไวส์” (Near–Earth Object Wide–field Infrared Survey Explorer– NEOWISE) คือโครงการกล้องโทรทรรศน์อวกาศอินฟราเรด ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา ใช้ในการตามหาดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง รวมถึงวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่อโลก ซึ่งอุปกรณ์นี้ทำงานมาถึง ๑๐ ปีแล้วและหน้าที่ก็ใกล้จะยุติลงแล้ว โดยภายในต้นปี ๒๕๖๘ กล้องนีโอไวส์จะตกลงสู่ชั้นบรรยากาศโลกและเกิดการเผาไหม้ตัวเองจนหมดสิ้นนักวิจัยหลักของนีโอไวส์และนักวิทยาศาสตร์จาก IPAC องค์กรวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียหรือแคลเทค ในสหรัฐฯ เผยว่า ๑๐ ปีที่ผ่านมาถือเป็นชีวิตที่ ๒ ของยานอวกาศนีโอไวส์ ได้รับการจัดการโดยห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่นของนาซา โดยนำภารกิจไวส์ (Wide-field Infrared Survey Explorer-WISE) ที่ปล่อยเปิดตัวในปี ๒๕๕๒ มาใช้ใหม่ ทำให้ข้อมูลจากไวส์ และนีโอไวส์ ถูกนำมาใช้เพื่อศึกษากาแล็กซีอันไกลโพ้น รวมถึงดวงดาวประเภทต่างๆ ใช้ค้นหาจานฝุ่นก๊าซรอบดาวฤกษ์นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ภารกิจ NEOWISE ได้ตรวจสอบท้องฟ้าทั้งหมดมากกว่า ๒๐ ครั้ง ตรวจวัดอินฟราเรด ๑.๔๕ ล้านครั้งบนวัตถุในระบบสุริยะมากกว่า ๔๔,๐๐๐ วัตถุ ซึ่งรวมถึงวัตถุใกล้โลกมากกว่า ๓,๐๐๐ วัตถุ ในอนาคตนักวิทยาศาสตร์จะยังคงพึ่งพาคลังข้อมูลการสำรวจของนีโอไวส์ ที่มีอยู่จำนวนมาก เนื่องจากเชื่อว่าจะช่วยให้มีการค้นพบสิ่งใหม่ๆ.(Credit : NASA/JPL-Caltech)อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่