Monday, 23 June 2025

อว.หวังใช้ดาวเทียมธีออสฯ อัพเกรดระบบเตือนภัย ลดความเสียหายจากภัยพิบัติ

รัฐมนตรีว่าการอว. สั่งหน่วยงานในสังกัดช่วยเหลือน้ำท่วม ดูเรื่องเทคโนโลยีเตือนภัย หวังใช้ประโยชน์จากดาวเทียมธีออส-๒ เพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมใช้ AI-Machine Learning ช่วยวิเคราะห์แพลตฟอร์มให้ครอบคลุม เพื่อช่วย ปชช.รู้ถึงสถานการณ์-ลดความเสียหายเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม๖๖ น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า หลังสถานการณ์อุทกภัยใน จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส อย่างหนัก รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจในการช่วยเหลือประชาชน มีการระดมหน่วยงานต่างๆลงไปช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ในส่วนของกระทรวง อว.ตนได้สั่งหน่วยงานต่างๆในสังกัด ให้ดูเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีการเตือนภัยพิบัติ โดยเราสามารถนำดาวเทียมธีออส-๒ ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจและถ่ายภาพมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม รวมถึงเครื่องโดรนมาช่วยในการวิเคราะห์และเสนอแนะการแก้ปัญหา ซึ่งแม้ว่าแพลตฟอร์มที่รัฐมีถือว่าดีอยู่แล้ว แต่หากเราใช้เทคโนโลยี AI และ Machine Learning มาช่วยในการวิเคราะห์แพลตฟอร์ม และ Prediction หรือพยากรณ์สถานการณ์ เรื่องผลกระทบด้านต่างๆ น่าจะช่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถต่อยอดไปยังงานในด้านอื่นๆได้อีกด้วยน.ส.ศุภมาส กล่าวอีกว่า นอกจากเรื่องการเตือนภัยแล้ว ยังสามารถพัฒนาไปใช้งานในด้านอื่นๆได้อีกด้วย เช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การวิเคราะห์พื้นที่ และผลกระทบด้านผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยเรามีสถานการณ์จากภัยพิบัติทุกปี ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า และปัญหาฝุ่นควัน ซึ่งหากเราพัฒนาแฟลตฟอร์มให้ครอบคลุม จะสามารถช่วยให้ประชาชนสามารถรู้ถึงสถานการณ์และช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างมั่นคง นอกจากนี้ยังจะช่วยในเรื่องของเกษตรกรรมและการปศุสัตว์ได้อีกด้วย โดยที่ผ่านมาทางกระทรวง อว. ได้มีการทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งตรงนี้เราสามารถที่จะหารือและสร้างรูปแบบต่างๆได้ เพราะเรามีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่จะทำงานในส่วนนี้ได้อีกมากtt ttด้าน พ.อ.ด็อกเตอร์เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีอวกาศและวิจัย (ECSTAR) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวทางของ รัฐมนตรีว่าการอว. เพราะการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่เรามีอยู่ เข้ามาพัฒนาแพลตฟอร์มเดิมที่ดีอยู่แล้ว จะทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งทาง ECSTAR และ สจล.ก็ดำเนินการในการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีอวกาศมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นหนึ่งในสถาบันที่ร่วมวิจัยกับกระทรวง อว. ซึ่งภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นหากเรามีเทคโนโลยีคอยเฝ้าระวังและแจ้งเตือนทุกภัยพิบัติ จะช่วยลดความสูญเสียได้อย่างมหาศาล และการที่เราจะสามารถต่อยอดไปยังเรื่องอื่นๆได้อีก เช่น การเกษตร ปศุสัตว์ และสิ่งแวดล้อม ก็ยิ่งคุ้มค่าที่จะทำ

Related posts
อินเดียเตือนภัยคลื่นความร้อนระดับ "สีแดง" ดัชนีความร้อนพุ่ง 51.9 องศา
“อนุทิน” นำทีม กำชับ อปท. ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเตือนภัย รับมือสถานการณ์น้ำ
“ไชยชนก” อวยภูมิใจไทย ดูแลแก้ปัญหาภัยพิบัติเต็มที่ ส่งกำลังใจถึง “นายกฯ เจนวาย”
อินเดียระทึก เรือบรรทุกสารพิษจมกลางทะเล เตือนภัยชายฝั่งเกรละ หวั่นกระทบชีวิตคน-สัตว์ทะเล
รวบยกแก๊ง โจรลักตัดสายไฟที่สัตหีบ พบมูลค่าความเสียหายนับล้าน เอาไปขายได้หลักพัน
โซลอ่วม ฝนตกถล่มหนัก 74 มม. ในชั่วโมงเดียว ทางการส่ง SMS เตือนภัยฉุกเฉินครั้งแรกของปี