Saturday, 18 May 2024

“ธรรมนัส” น้อมรับฟัง พร้อมปรับปรุง มุ่งให้เกษตรกรหลุดพ้นกับดักความยากจน

04 Jan 2024
67

“ธรรมนัส” เปิดใจรับฟังทุกฝ่าย พร้อมปรับปรุง ก.เกษตรฯ มุ่งเปลี่ยนแปลงให้เกษตรกรหลุดพ้นกับดักความยากจน ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริม เพิ่มรายได้เมื่อเวลา ๒๐.๓๒ น. วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๗ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงหลังฟังการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ในวาระการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ ว่า ขอบคุณผู้อภิปรายที่นำข้อมูลมาอภิปรายกับความเป็นจริงของพี่น้องชาวนาในปัจจุบัน รัฐบาลทุกสมัยให้ความสำคัญ และขนานนามชาวนาว่าคือกระดูกสันหลังของประเทศ แม้กระทั่งการหาเสียงเลือกตั้งก็มักพุ่งเป้าไปที่ชาวนา รัฐบาลชุดแล้วชุดเล่าต้องการพัฒนาชีวิตของชาวนา รวมถึงรัฐบาลปัจจุบัน แต่เหตุใดเกษตรกรยังติดกับดักวงจรอุบาทว์ ดังนั้นต้องปรับโครงสร้างการพัฒนาเกษตร โดยเฉพาะข้าวเป็นเรื่องสำคัญ แม้กระทั่งคำถามแรกที่ถามคนมาเยี่ยมเยือน ยังถามว่าทานข้าวหรือยังร.อ.ธรรมนัส กล่าวต่อไปว่า การพัฒนาข้าวเป็นงานหนัก ซึ่งตนเอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๒ คน และผู้บริหารกระทรวง หารือกันมาตลอดภายใต้งบประมาณจำกัด เคยแถลงนโยบายกระทรวงเกษตรฯ ไปว่าจะส่งเสริมสนับสนุนวิจัยและพัฒนา ต้องยอมรับว่ากระทรวงเกษตรฯ ต้องพัฒนาตัวเอง ใส่ใจจริงๆ ในการแก้ปัญหาให้พี่น้องชาวนา รวมถึงการปรับโครงสร้างการทำนา ปัจจุบันข้าวผลิตปีละ ๒๐ ล้านตัน เก็บไว้บริโภค ๑๐ ล้านตัน ส่งออกไม่เกิน ๘ ล้านตัน ที่เหลือเป็นปริมาณข้าวที่สะสม และทำให้ราคาข้าวตกต่ำ มาตรการต่างๆ พยายามทำใต้กรบงบประมาณจำกัด ภายใน ๔ ปี ต้องปรับโครงสร้างงบประมาณใหม่ ซึ่งในปี ๒๕๖๖ งบประมาณ ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท กรมการข้าว ไม่ได้ใช้แม้แต่บาทเดียว เนื่องจากต้องเอาเงินไปเยียวยาไร่ละ ๑,๐๐๐ บาท ส่วนปี ๒๕๖๗ กรอบวงเงิน ๔,๐๐๐ กว่าล้านบาท งบใช้ประจำก็ ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาท ส่วนที่เหลือแน่นอนว่าไม่เพียงพอต่อชาวนาทั่วประเทศ ทั้งนี้ สิ่งที่กำลังจะทำคือ กรมการข้าว ต้องเปิดกว้าง รับรองการวิจัยของสถาบันต่างๆ รวมถึงศูนย์วิจัย และประกาศให้ชาวนาได้ทดลองปลูกพันธุ์ข้าวใหม่ๆ รวมไปถึงเรื่องการลดต้นทุนการผลิต สิ่งสำคัญคือเราต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริม โดยตนกำลังให้กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดโอกาสให้ผู้มีเครื่องจักรเทคโนโลยีใหม่ มาลงทะเบียนเพื่อให้บริการในแต่ละตำบล อำเภอ เพื่อใช้ในพื้นที่ ขอบคุณเพื่อสมาชิกที่มีการอภิปรายว่ากระทรวงเกษตรฯ เป็นกระทรวงใหญ่ที่ถูกตัดงบประมาณ โดยปีนี้เหลือ ๑๘๘,๐๐๐ กว่าล้านบาท เราต้องปรับปรุงตัวเอง เปิดหูเปิดตารับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านtt ttร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่วนประเด็นการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทาน มีแนวทางการขอจัดสรรงบประมาณ โดยพิจารณาเลือกพื้นที่ตามหลักเกณฑ์ และทำตามสำนักงบประมาณกำหนด นอกจากนี้ กรมการข้าว ที่มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ ตัน ยังมีการสนับสนุนโครงการให้เปล่า และโครงการขายเมล็ดพันธุ์ในราคาถูก ซึ่งในปี ๒๕๖๖ มีการจำหน่าย ๕๘,๗๐๐ ตัน ในพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศ ขณะที่โครงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจะมุ่งเน้นที่ยังขาดความพร้อม โดยการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนขั้นตอนจะใช้ระยะเวลาไม่เกิน ๑๑ วัน ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนดไว้ กรณีที่ล่าช้าอาจเกิดจากเอกสารไม่มีความพร้อม หรือความไม่ใส่ใจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงเกษตรต้องนำไปแก้ไข ร.อ.ธรรมนัส ยังกล่าวถึงตั้งข้อสังเกตงบกระทรวงเกษตรฯ มีจำนวนน้อย แต่มีกองทุนภายใต้การดูแลจำนวนมาก ยอมรับว่าจริง กระทรวงเกษตรฯ มีกองทุน ๑๔ กองทุน แต่ที่มีความสำคัญ และมีเม็ดเงินสามารถนำมาใช้แก้ปัญหามีเพียง ๕ กองทุนเท่านั้น ก่อนกล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาใช้เวลาในการเดินทางไปตรวจราชการ ขอบคุณ สส.ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ให้ความสำคัญเกษตรกรในปัญหาต่างๆ รวมถึงที่ดินทำกิน แหล่งน้ำ ประมง ยืนยันว่าจะใช้งบประมาณทุกกรม ทุกส่วน ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าเพื่อประชาชนทั่วประเทศtt ttนางฐิติมา ฉายแสง สส.ฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทยทางด้าน นางฐิติมา ฉายแสง สส.ฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นสิทธิ์พาดพิง โดยทราบว่างบประมาณมีจำกัด แต่อยากให้ประกาศทิศทางเกษตรของประเทศอย่างชัดเจน ดังเช่นที่เวียดนามกล้าประกาศเปลี่ยนเป็นเกษตรรายได้ดี ประเทศไทยกล้าบอกประชาชนหรือไม่ จะช่วยลงทุนทำมาหากินได้หรือไม่ และไทยนำเข้าถั่วเหลืองเกือบ ๙๐% แต่กลับไม่ถูกพูดถึง ไม่เห็นโครงการที่สนับสนุนให้ปลูกถั่วเหลือง รวมถึงเกษตรอัจฉริยะ จึงอยากทราบทิศทางในส่วนนี้จากนั้น ร.อ.ธรรมนัส ตอบว่า ขออภัยที่ลืมตอบประเด็นนี้ กระทรวงเกษตรฯ กล้าทำ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเกษตรกรให้หลุดพ้นกับดักความยากจน โดยจะใช้แนวทางตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ถ้าตลาดล้นเราจะไม่ส่งเสริม การทำนา ๓ รอบต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เรากำลังรณรงค์ปลูกข้าวโพด ปลูกถั่วเหลือง การปลูกพืชทดแทน ขณะนี้กำลังให้กรมส่งเสริมการเกษตร นำร่อง ๕๐๐ ตำบล ผ่านโครงการแชมเปียนโปรดักต์ คือ สินค้าที่ผลิตออกมาแล้วมีตลาดรองรับ ผลิตไม่ต้องมาก แต่สร้างรายได้เกษตรกร เราจะกล้าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเกษตรกร และเชื่อมั่นว่าเขาจะไม่ปฏิเสธ ก่อนจบการชี้แจงในเวลา ๒๑.๐๑ น.