Monday, 20 May 2024

“กินอะไรก็ได้” ไม่ได้สำหรับเด็ก เพราะถ้ากินไม่ครบ การเติบโตระยะยาวไม่สมดุล

29 Jan 2024
49

การกินเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการเจริญเติบโตของเด็กๆ แต่ “การกินที่ดี” นั้นต้องไม่ใช่แค่ “กินอะไรก็ได้” เพราะถ้าอยากให้เด็กเจริญเติบโตอย่างดี มีพัฒนาการสมวัย ร่างกายแข็งแรง ต้องเป็นการกินที่ได้สารอาหารครบถ้วน ในปริมาณและสัดส่วนอาหารที่เหมาะสมด้วยแต่ในความเป็นจริง สิ่งที่พบเจอเป็นประจำก็คือเด็กบางคนมีนิสัยกินยาก จนพ่อแม่ยอมให้ “กินอะไรก็ได้” ขอแค่ให้ลูกได้อิ่ม เช่น ไม่ต้องกินผักผลไม้ก็ได้ หรือให้กินขนมแทนอาหารมื้อหลักไปเลยเด็กบางคนมีหุ่นอ้วนจ้ำม่ำ เพราะพ่อแม่ปล่อยให้ “กินอะไรก็ได้” โดยไม่เอะใจว่าเป็นปัญหา โดยเฉพาะการกินขนมกรุบกรอบ ของทอดของมัน หรือน้ำหวานน้ำอัดลมเป็นประจำบางครอบครัวที่พ่อแม่งานยุ่งจนไม่มีเวลาเตรียมอาหารการกินที่เหมาะสม ก็เลยปล่อยให้ลูก “กินอะไรก็ได้” เพื่อแก้ปัญหาไปก่อน และมักลงเอยที่อาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารสำเร็จรูปพฤติกรรมการกินแบบ “อะไรก็ได้” เหล่านี้ล้วนทำให้เด็กๆ ได้รับสารอาหารที่ไม่สมดุล คือขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ได้รับอาหารที่เป็นโทษมากไป ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยประสบปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น และยังส่งผลเสียต่อการเติบโตในระยะยาวด้วย ตัวอย่างเช่น- การกินอาหารรสหวานมากเกินไป พลังงานที่ได้จากน้ำตาลจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะไขมันในช่องท้อง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และอาจรุนแรงจนถึงขั้นไตวาย ปัจจุบันพบผู้ป่วยเป็นเบาหวานตั้งแต่วัยเด็กเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และคนที่ติดหวานตั้งแต่เด็ก ก็มีแนวโน้มจะโตเป็นผู้ใหญ่ที่ติดหวานไปด้วย- การกินรสหวานยังทำให้เสี่ยงต่อฟันผุ โดยเฉพาะฟันน้ำนมที่ผุก่อนวัยอันควร ซึ่งเชื้ออาจลามยาวไปถึงฟันแท้ เด็กที่ฟันผุจะมีอาการเหงือกอักเสบ และปวดฟัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกินอาหาร ทำให้เคี้ยวอาหารได้ยาก ทำให้ต้องเลือกกินอาหารนิ่มๆ หรือไม่ยอมกินผักผลไม้ ยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพเพราะทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และการมีฟันผุยังส่งผลเสียต่อความมั่นใจและบุคลิกภาพโรคอ้วนในเด็กเสี่ยงต่อโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันพอกตับ ประจำเดือนผิดปกติ และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง คนที่เป็นโรคอ้วนตอนเด็กยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่ด้วย และการสะสมถุงเก็บไขมันในร่างกายไว้ตั้งแต่เด็กนั้นจะมีผลให้กลับมาอ้วนง่ายในตอนโต จากสถิติพบว่าเด็กที่มีน้ำหนักเกินราว ๕๕% จะโตไปเป็นวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่น้ำหนักเกินโรคอ้วนทำให้พัฒนาการของเด็กลดลง ตัวอย่างเช่น เด็กอาจมีภาวะปวดหัวเรื้อรังที่มาจากการมีความดันโลหิตสูงในกะโหลกศีรษะ ทำให้กระทบกับการเรียนหนังสือ เด็กมีอาการนอนกรนจากความอ้วน จนทางเดินหายใจถูกอุดกั้นในขณะหลับทำให้มีภาวะหยุดหายใจ ส่งผลให้นอนหลับไม่เต็มอิ่ม เกิดอาการง่วงนอนอ่อนเพลียตอนกลางวัน กระทบต่อการเรียนรู้ในโรงเรียน หรือเด็กบางคนอาจถูกล้อเลียนเรื่องรูปร่างจนเสียความภูมิใจในตนเอง นำไปสู่ปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์ รวมถึงภาวะซึมเศร้าการกิน เป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของเด็กทุกคน เป็นหนึ่งความสมดุลที่จะขาดไปไม่ได้ถ้าอยากให้เด็กๆ มีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย และเติบโตอย่างแข็งแรงได้ในระยะยาว การกินดีนั้นไม่ใช่แค่การกินอะไรก็ได้เพื่อให้ท้องอิ่ม และไม่ได้หมายถึงการเสียเงินซื้อวัตถุดิบราคาแพงเสมอไป แต่คือการกินอาหารที่ปรุงสดใหม่ สะอาด ได้สารอาหารครบ ๕ หมู่ ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม โดยกะว่า มีผักผลไม้ให้ได้ครึ่งนึงของทุกมื้อ ส่วนข้าวแป้ง และเนื้อสัตว์แบ่งกันอีกครึ่ง รวมถึงการได้ดื่มน้ำเปล่าอย่างเพียงพอ ลดการกินอาหารขนมและเครื่องดื่มที่หวาน มัน เค็ม เกินtt ttสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จึงขอเชิญชวนพ่อแม่ผู้ปกครองทุกท่านมาช่วยกันปลูกฝังพฤติกรรม ‘กินดี’ รวมถึง ‘วิ่งเล่น’ และ ‘นอนพอ’ ให้กับลูกหลานเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีและการเติบโตอย่างแข็งแรงเหมาะสมกับวัย เริ่มต้นจากมาร่วมกันสร้างความรู้ความใจที่ถูกต้องผ่าน “คู่มือเลี้ยงลูก ๖-๑๒ ปี ให้พัฒนาการดีรอบด้านด้วย สามเหลี่ยมสมดุล” ซึ่งภายในคู่มือนี้มีข้อมูลที่รวบรวมมาเพื่อช่วยคลายข้อสงสัยในการเลี้ยงลูกให้สมดุล ทั้งเรื่องการกินอาหาร การการออกกำลังกาย และการนอนหลับ อย่างครบถ้วนสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ คลิกกดติดตามข้อมูลข่าวสาร แคมเปญที่น่าสนใจ และกิจกรรมดีๆ จาก สสส. เพิ่มเติมได้ที่ :Facebook : Social Marketing Thaihealth by สสส.Line : @thaihealththailandTiktok: @thaihealthYoutube: SocialMarketingTHWebsite : Social Marketing การตลาดเพื่อสังคม