Friday, 17 May 2024

เปิดความหมายพักโทษคืออะไร นักโทษแบบไหนมีสิทธิได้รับบ้าง

18 Feb 2024
36

จากกรณีที่ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับสิทธิพักโทษจากเดิมที่ถูกตัดสินพิพากษาให้จำคุก ๘ ปี และได้รับการอภัยโทษเหลือจำคุก ๑ ปี และล่าสุดได้รับสิทธิพักโทษกรณีพิเศษ และไม่ต้องใส่กำไลอีเอ็ม พร้อมได้กลับมาพักรักษาตัวที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยเกี่ยวกับการ “พักโทษ” ว่านักโทษแบบใดได้รับสิทธิแบบนี้บ้างพักโทษ คืออะไรการพักโทษ คือ การปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดที่มีความประพฤติดี อยู่ในระเบียบวินัย ขยันฝึกวิชาชีพ และทำความชอบแก่ราชการ ให้ออกมาอยู่นอกเรือนจำก่อนครบกำหนดโทษตามคำพิพากษาภายใต้เงื่อนไขการคุมประพฤติ โดยโทษจำคุกตามคำพิพากษาเดิมยังคงเหลืออยู่การพักโทษ แบ่งออกได้เป็น ๒ กรณี คือ๑. การพักการลงโทษกรณีปกติเป็นการพักโทษให้แก่นักโทษเด็ดขาดตั้งแต่ชั้นกลางขึ้นไปที่ได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน หรือ ๑ ใน ๓ ของกำหนดโทษที่ระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเด็ดขาด แต่ในกรณีที่มีการพระราชอภัยโทษให้ถือกำหนดโทษตามหมายแจ้งโทษเด็ดขาดฉบับหลังสุด๒. การพักการลงโทษกรณีพิเศษเป็นกรณีที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์พิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุพิเศษที่จะพักโทษให้แก่นักโทษเด็ดขาดมากกว่ากรณีปกติ เช่น เป็นผู้สูงอายุ เจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ เป็นต้น ซึ่งกรณีของ นายทักษิณ ชินวัตร จะอยู่ในการพักโทษประเภทดังกล่าวการพักการลงโทษให้แก่นักโทษเด็ดขาดรายใดนั้น เรือนจำ และทัณฑสถานแต่ละแห่ง จะดำเนินการสำรวจนักโทษเด็ดขาดที่เข้าเกณฑ์พักการลงโทษ โดยคณะทำงานเพื่อพิจารณาวินิจฉัยการพักการลงโทษประจำเรือนจำจะทำการตรวจสอบบัญชีรายชื่อนักโทษเด็ดขาดที่สมควรได้รับการพักการลงโทษ และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ภาพจาก iStockในการตรวจสอบต้องคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งคดีที่ได้กระทำ การกระทำความผิดที่ได้กระทำมาก่อน ระยะเวลาการคุมประพฤติ ความน่าเชื่อถือ และความเหมาะสมของผู้อุปการะในการควบคุมดูแลนักโทษเด็ดขาดให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขจนกว่าจะพ้นโทษ ผลกระทบด้านความปลอดภัยของสังคม พฤติการณ์ในระหว่างถูกคุมขังที่น่าเชื่อว่าได้กลับตนเป็นคนดี และผ่านการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู พัฒนาพฤตินิสัยมาแล้ว จากนั้นเสนอความเห็นต่อผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณาส่งรายชื่อไปยังอธิบดีกรมราชทัณฑ์พิจารณา เมื่ออธิบดีกรมราชทัณฑ์ให้ความเห็นชอบแล้วให้เสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยการพักการลงโทษพิจารณาอนุมัติ แต่หากเป็นกรณีการพักการลงโทษกรณีพิเศษต้องเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมพิจารณาอนุมัติด้วยเมื่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยการพักโทษ หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอนุมัติพักโทษ และให้ปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการพักโทษแล้ว ให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์แจ้งผลการอนุมัติให้ผู้บัญชาการเรือนจำทราบ ผู้บัญชาการเรือนจำต้องออกหนังสือสำคัญปล่อยตัวพักการลงโทษให้แก่นักโทษเด็ดขาดผู้นั้น และแจ้งเงื่อนไขการคุมประพฤติให้นักโทษเด็ดขาดทราบ รวมทั้งมีหนังสือแจ้งให้พนักงานคุมประพฤติ และพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจในท้องที่ที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการปล่อยตัวเข้าไปพักอาศัยทราบด้วย โดยนักโทษเด็ดขาดผู้นั้นต้องไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติในท้องที่ที่ไปพักอาศัยภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัวระหว่างการพักโทษ นักโทษต้องปฏิบัติตนอย่างไรช่วงระหว่างการคุมประพฤติจะมีเจ้าพนักงานคุมประพฤติ หรืออาสาสมัครคุมประพฤติไปเยี่ยมที่บ้านของผู้ที่ได้รับการปล่อยตัว เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ ดูแลช่วยเหลือสงเคราะห์เมื่อมีปัญหา โดยที่ผู้ถูกคุมประพฤติจะต้องประพฤติปฏิบัติตามเงื่อนไข ๘ ข้อที่กำหนดไว้ หากประพฤติผิดเงื่อนไขจะถูกนำตัวกลับมาคุมขังไว้ในเรือนจำตามเดิม และจะถูกลงโทษทางวินัยด้วย โดยเงื่อนไข ๘ ข้อ มีดังนี้จะต้องพักอาศัยอยู่ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้กับเรือนจำห้ามออกนอกเขตท้องที่ที่อาศัยโดยไม่ได้รับอนุญาตห้ามประพฤติตนเสื่อมเสีย เช่น เล่นการพนัน ดื่มสุรา ยาเสพติด และกระทำผิดอาญาขึ้นอีกประกอบอาชีพโดยสุจริตปฏิบัติตามลัทธิศาสนาห้ามพกพาอาวุธห้ามไปเยี่ยมบ้าน หรือติดต่อกับนักโทษอื่นที่ไม่ใช่ญาติให้ไปรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติเรือนจำ เจ้าพนักงานปกครอง หรือหัวหน้าสถานีตำรวจทุกเดือนหากผู้ได้รับการปล่อยตัวประพฤติตนตามเงื่อนไขด้วยดีตลอดก็จะได้รับใบบริสุทธิ์ และพ้นโทษไปตามคำพิพากษา เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติสืบต่อไป.ข้อมูลอ้างอิง : หอสมุดรัฐสภา, กรมราชทัณฑ์