Wednesday, 29 May 2024

๗ ประเด็นท้าทาย + ๕ทักษะ วิสัยทัศน์รับโลกเปลี่ยน

04 Mar 2024
31

“การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ส่งผลต่อระบบการสังเคราะห์แสงของพืช ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้น ความไม่สมดุลของห่วงโซ่อาหาร ความก้าวหน้าและความเร็วของเทคโนโลยี การเข้าสู่โครงสร้างประชากรโลกที่สูงวัย ส่งผลต่อปริมาณของแรงงานที่ลดน้อยลง การเปลี่ยนแปลงของระบบอาหารและแบบแผนโภชนาการ ผู้คนเน้นมาตรฐานความปลอดภัยและโภชนาการเพิ่มขึ้น ล้วนเป็นความท้าทายของภาคเกษตร” นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) กล่าวในงานสัมมนาการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร เพื่อมอบนโยบายในการทำงานแก่ข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร เนื่องจากระบบราชการที่มีอยู่ปัจจุบันปรับตัวได้ช้ากว่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมการเข้าถึงและความคาดหวังของการให้บริการภาครัฐ จะถูกเปรียบเทียบกับภาคเอกชน และมีคำถามต่อความคุ้มค่าจากภาษีของประชาชน รวมถึงปริมาณงานและค่างานเพิ่มขึ้นตามความต้องการของประชาชน จะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ที่ไม่สามารถใช้วิธีการแก้ไขจากการทำงานด้วยองค์ความรู้แบบเดิมได้อีกต่อไป ทั้งหมดนี้จึงเป็นความท้าทายของนักส่งเสริมการเกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่จะต้องก้าวทันความท้าทายดังกล่าว “ดังนั้น ในปี ๒๕๖๗ กรมจึงเพิ่มเป้าหมายงานส่งเสริมการเกษตร ให้สามารถผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง สร้างรายได้เพิ่มขึ้น สู่การเกษตรที่ยั่งยืน โดยการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เกิดผลสำเร็จ ภายใต้หลักการ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ เน้นการส่งเสริมพัฒนาทักษะเกษตรกร ให้สามารถใช้ประโยชน์จากพฤกษศาสตร์, เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีหมุนเวียน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรมูลค่าสูง และเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ”อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรบอกถึงหนทางที่จะทำให้ภาคเกษตรไทยพัฒนาได้ทันโลกของการเปลี่ยนแปลง นักส่งเสริมการเกษตรจะมีภารกิจที่ท้าทาย ๗ ประเด็น ๑) พัฒนาแปลงต้นแบบสู่สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ๒) พัฒนาพื้นที่ ยกระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมระดับจังหวัด ๓) สานพลัง ๘ เครือข่าย สร้างกลุ่มคลัสเตอร์การผลิต การตลาดสินค้าเกษตรชุมชน ๔) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ๕) การขึ้นทะเบียนผู้ให้บริการทางการเกษตร ๖) ส่งเสริม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และการ บริหารจัด การธุรกิจเกษตร ในทุกช่วงวัยด้วยเทคโน โลยีดิจิทัล และ ๗) การใช้ประ โยชน์จากข้อมูล และเทคโนโลยีเครื่องจักรกลสมัยใหม่นายพีรพันธ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้นักส่งเสริมการเกษตรในยุคปัจจุบัน จะต้องเข้าใจถึง ๕ ทักษะสำคัญต่อเกษตรกรไทยอีกด้วย นั่นคือ๑.Growth Mind Set & Anti Fragile มีความเชื่อว่าความสำเร็จเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ ความพยายาม และการฝึกฝน และเมื่อล้มเหลวจะพยายามมากขึ้น ๒.Learning Skills ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินสถานการณ์ และคิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อน สร้างไอเดียใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ และการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อแก้ไขปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่นในทีม การสื่อสาร การแบ่งหน้าที่ การแก้ไขข้อขัดแย้ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน๓.Financial Literacy ความสามารถที่จะเข้าใจและกระจายความเสี่ยงทางการเงิน การปรับแผนการผลิตการตลาดในสภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย การจัดสรรเงินก่อนใช้จ่าย การบริหารการเงิน ทัศนคติ การเป็นหนี้ การชำระหนี้ แบบต่างๆและการใช้จ่ายเงินที่เหมาะสม๔.Digital Literacy ความสามารถในการเข้าใจ เข้าถึง และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๕.ESG Literacy for Resilience: Environment Social Governance ความรู้ ความตระหนัก ความเข้าใจถึงการกระทำต่างๆ ที่ส่งผลกระทบทั้งบวกและลบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปฏิบัติตนให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน การให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชน เพศ สวัสดิการแรงงาน และการกำกับดูแลและการนำองค์กรที่ดี“การทำเกษตรในยุคสมัยใหม่ เราจะทำแบบเดิมไม่ได้ นักส่งเสริมการเกษตรต้องเชื่อมั่นว่า ถ้าเราทำงานร่วมกัน แบ่งปันข้อมูลมากขึ้น กรมส่งเสริมการเกษตรจะเติบโต สร้างคุณค่าที่เกษตรกรต้องการจากเราได้มากยิ่งขึ้น และเราจะส่งมอบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ที่เหมาะสมให้เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น ๓ เท่า ภายใน ๔ ปี เพราะรอยยิ้มของเกษตรกร คือความภาคภูมิใจของเรา” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าว.ชาติชาย ศิริพัฒน์คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม