วันจันทร์, 29 เมษายน 2567

ความทุกข์ของคนอังกฤษ

Sapien Labs กองทุนประสาทวิทยาศาสตร์ทำรายงานสถานะทางจิตของโลก หรือ Mental State of the World ซึ่ง ค.ศ.๒๐๒๔ เป็นปีที่ ๔ ที่ทำการประเมินสุขภาวะทางจิตหรือ Mental Wellbeing ของผู้เข้าร่วมทางอินเตอร์เน็ต ๔๑๙,๑๗๕ คน จาก ๗๑ ประเทศ พบว่าร้อยละ ๓๖ ของคนอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรสารภาพกับกองทุนประสาทวิทยาศาสตร์ว่าพวกเขากำลังเผชิญกับปัญหาและเป็นทุกข์มาก (มากเป็นอันดับ ๒ ของประเทศที่สำรวจ)กองทุนฯ ถามผู้เข้าร่วมสำรวจคนละ ๔๗ คำถาม เพื่อตรวจสอบอารมณ์และทัศนะ ความรู้สึกที่มีต่อสังคม แรงผลักดัน แรงจูงใจ การปรับตัวและความยืดหยุ่น โดยให้ตอบเป็นแบบเขียนบรรยาย ไม่เฉพาะชาวอังกฤษเท่านั้น แต่ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ไม่ว่าอังกฤษ ไอร์แลนด์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ประชากรล้วนมีความสุขอยู่ในอันดับล่างๆ เมื่อเทียบกับประชากรจากประเทศอื่นการสำรวจพบว่า ไม่มีแนวโน้มที่ปัญหาและความทุกข์ของชาวอังกฤษหรือของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่จะได้รับการเยียวยา เรื่องนี้ตรงกับรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษที่พบว่า คนอังกฤษมีความสุขและความพึงพอใจส่วนตัวลดน้อยลงมาก มาตรฐานการดำรงชีพของประชาชนก็ตกต่ำอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในประวัติศาสตร์The Landcet นิตยสารทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงรายงานว่ากุมภาพันธ์ ๒๐๒๔ มีคนอังกฤษมาก ๑.๘ ล้านคนรอเข้ารับการรักษาด้านสุขภาพจิต ปัญหาที่พบก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวที่ห่างเหิน แม้แต่เด็กๆ ก็ไม่พูดจากับผู้ใหญ่ ทุกคนสนใจแต่สมาร์ทโฟน อาหารการกินก็ไม่ได้ทำเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนเมื่อก่อน รับประทานอาหารแบบลวกๆ ตัวใครตัวมันอังกฤษเป็นดินแดนแห่งอาชญากรรม ปีที่แล้ว ผู้ประกอบการชั้นนำด้านค้าปลีก เช่น Tesco, Sainsbury’s, Marks &Spencer ฯลฯ ต้องทำจดหมายถึงรัฐมนตรีมหาดไทย ขอความกรุณาให้ทางราชการจัดการปัญหาอาชญากรรมค้าปลีก ระหว่าง ค.ศ.๒๐๒๑-๒๐๒๒ มีเหตุการณ์ความรุนแรงและการละเมิดต่อพนักงานค้าปลีกในอังกฤษเพิ่มขึ้นเป็น ๒ เท่า โดยมีมากถึง ๘๖๗ เหตุต่อวันผู้ประกอบการค้าปลีกในอังกฤษใช้เงินมากกว่าปีละ ๗๐๐ ล้านปอนด์ (๓.๑ หมื่นล้านบาท) ในการป้องกันการขโมยในร้านค้าปลีกทั่วประเทศ แต่ก็ป้องกันไม่ได้ เพราะยังมีการโจรกรรมตามร้านค้าที่สร้างความเสียหายมากถึง ๙๕๓ ล้านปอนด์ (๔.๓ หมื่นล้านบาท) ระหว่าง ค.ศ.๒๐๒๑-๒๐๒๒ หัวขโมยชาวอังกฤษมีมากจนยากที่ตำรวจจะปราบปรามได้อาชญากรรมการล่วงละเมิดทางเพศในอังกฤษก็สูงมาก ๓ มีนาคม ๒๐๒๔ เป็นวันครบรอบ ๓ ปีที่นางสาวซาราห์ เอเวอราร์ด (Sarah Everard) ถูกข่มขืนแล้วฆ่า เมื่อ ๓ มีนาคม ๒๐๒๑ ซาราห์ ถูกตำรวจอังกฤษที่ชื่อเวย์น คูเซนส์ (Wayne Couzens) ใส่กุญแจมือแล้วพาขึ้นรถ สุดท้ายตำรวจอังกฤษพาไปข่มขืนแล้วฆ่า ถ้าไม่ได้ภาพจากกล้องติดรถยนต์ของพลเมืองดีก็จะไม่มีทางทราบเลยว่าอาชญากรคือตำรวจ ปัจจุบันมีคนพูดกันมากว่า ตำรวจอังกฤษน่ากลัวกว่าผู้ร้าย ทำทีเข้าไปตรวจแล้วก็จับผู้หญิงไปเป็นผู้ต้องหา เพื่อพาไปข่มขืนแล้วฆ่าเราไม่ควรใช้ความรู้สึกมาตรวจสอบคุณภาพชีวิตของคนในประเทศต่างๆ แต่ให้ดูการสำรวจและเผยแพร่ของสำนักงานรัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ หรือองค์กรเอกชนที่มีชื่อเสียง ย้อนหลังกลับไปในอดีต ผู้คนจากประเทศต่างๆ อยากไปเรียน ทำงาน และลงหลักปักฐานชีวิตในสหรัฐฯอังกฤษ ออสเตรเลีย หรือนิวซีแลนด์ ทว่าปัจจุบันตรงกันข้าม ผลสำรวจของหลายองค์กรพบว่าคนจากประเทศที่เคยรุ่งเรืองอยากย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในประเทศอื่นที่มีความสงบและปลอดภัยกว่าอังกฤษไม่ค่อยเรียกคนที่นอนตามถนนหนทางว่าคนไร้บ้านหรือ homeless แต่ใช้คำว่า rough sleeper ซึ่งเพิ่มขึ้นมากทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามถนนหนทางในกรุงลอนดอน ตอนนี้จำนวนคนที่นอนริมถนนในกรุงลอนดอนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๓ ปีต่อปี จากการสำรวจขององค์กรการกุศลที่นำอาหารไปให้คนเหล่านี้ ให้อาหารไปก็สอบถามข้อมูลไป พบว่ากว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้ที่นอนริมถนนในกรุงลอนดอนเพิ่งต้องออกมานอนเป็นครั้งแรก (เพิ่งตกงานและโดนยึดบ้าน)อ่านจากข้อมูลแล้ว นำความทุกข์ของคนอังกฤษมาเขียนได้ไม่หมดครับ.นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัยsonglok๑๙๙๗@gmail.comคลิกอ่านคอลัมน์ “เปิดฟ้าส่องโลก” เพิ่มเติม