วันอาทิตย์, 28 เมษายน 2567

โจทย์ยาก “เพื่อไทย”

จะเป็นความบังเอิญคงพูดเช่นนั้นไม่ได้ แต่น่าจะเป็นความตั้งใจมากกว่า เมื่อ ๓ ผู้ยิ่งใหญ่ทางการเมืองได้โคจรมาที่เชียงใหม่ในห้วงเวลาที่ตรงกันและใกล้เคียงกัน๑.“ทักษิณ ชินวัตร” เจ้าของ “เพื่อไทย”๒.“เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรี๓.“พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค “ก้าวไกล”ต่างมีกำหนดการและเป้าหมายที่แม้จะดูต่างกันแต่เนื้อแท้แล้วก็ไม่ได้ต่างกันเท่าใดนัก เพราะล้วนหวังผลทาง การเมืองทั้งนั้น“เชียงใหม่” มี ๑๐ เขตเลือกตั้ง ๑๐ สส.ซึ่งก่อนหน้านี้ “เพื่อไทย” ยึดครองได้เกือบทั้งหมดเพราะถือเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเจ้าของพรรคจึงยกให้เป็น “เมือง” ของคนเสื้อแดงแต่ปัจจุบันปรากฏว่า “เพื่อไทย” มี สส.เพียงแค่ ๒ คนที่เหลือเป็นของพลังประชารัฐ ๑ คน อีก ๗ คน เป็นของ “ก้าวไกล”นี่ถือเป็นเรื่องใหญ่และเป็นปัญหาของ “เพื่อไทย”จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เมื่อสภาพการณ์เป็นเช่นนี้ เมื่อ “ทักษิณ” กลับมาถึงเมืองไทยจึงต้องเรียกขวัญกำลังใจคืนกลับมาด้วยการเอาชนะเลือกตั้งให้ได้ทั้ง ๑๐ เขตการเดินทางมาเชียงใหม่หลังจากได้ “พักโทษ” นอกเหนือจากการกราบไหว้บรรพบุรุษแล้วประเด็นที่ปฏิเสธไม่ได้คือวัดใจคนเชียงใหม่ว่ายังรัก “ทักษิณ” อีกหรือไม่?ถ้ายังรักกันอยู่ก็ต้องสนับสนุน “เพื่อไทย” ด้วยการลงคะแนนเลือกผู้สมัครของพรรคทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นแน่นอนว่าในกระบวนวิธีต่างๆนั้น “เศรษฐา ทวีสิน” ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ “เพื่อไทย” ส่งเข้าประกวดก็ต้องสนองรับด้วยการสร้างความนิยมให้กับพรรคด้วยนั่นคือการแก้ไขปัญหาและสร้างความเจริญให้คนเชียงใหม่พอใจต้นปีหน้าจะมีการเลือกนายก อบจ.ทั่วประเทศ ซึ่งดูเหมือนว่าพรรคคู่แข่งคือ “ก้าวไกล” ที่กำลังขยายฐานมวลชลลงลึกในระดับท้องถิ่น โดยจะส่งผู้สมัครทั่วประเทศเพื่อชิงเก้าอี้นายก อบจ.ซึ่งเชียงใหม่คือเป้าหมายสำคัญด้วยการที่ “พิธา” เดินทางมาเชียงใหม่ครั้งนี้ แม้จะอ้างว่าเพื่อมาช่วยทีมงานในการแก้ปัญหาฝุ่นพิษ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการเรียกคะแนนนิยมที่สำคัญลืมไม่ได้เป็นอันขาด“ก้าวไกล” มี สส.เชียงใหม่ถึง ๗ คน ที่เป็นฐานสนับสนุนสำคัญดังนั้น โอกาสที่จะชนะเลือกตั้งนายก อบจ.จึงมีความเป็นไปได้สูง เพราะฐานเสียงขยายไปเกือบทั้งจังหวัดแล้วที่สำคัญคือแนวทางการเมืองแบบใหม่ที่มุ่งด้วย “อุดมการณ์” มากกว่าการ “ซื้อเสียง”เป็นรูปแบบใหม่ที่ “เพื่อไทย” พ่ายแพ้มาแล้วหลายจังหวัด ซึ่งเป็นเสียงสำคัญไม่ว่าจะเป็น กทม. หรือจังหวัดในภาคอีสานการเลือกตั้งครั้งต่อไปสภาพการณ์ต่างๆได้เปลี่ยนไปแล้วไม่ใช่อย่างที่ “ทักษิณ” บอกคนในพรรคถึงความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้น เพราะผู้สมัครขี้เกียจไม่ออกไปพบปะชาวบ้านแต่จริงๆแล้ว เพราะประชาชนเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ในการเลือกตั้งนี่จึงเป็นความท้าทายใหม่ที่ไม่ใช่ “ประชานิยม” แล้ว!“สายล่อฟ้า”คลิกอ่านคอลัมน์ “กล้าได้กล้าเสีย” เพิ่มเติม