วันเสาร์, 4 พฤษภาคม 2567

เท่าเทียมกันตามกฎหมาย

23 เม.ย. 2024
13

“รัฐประหาร” กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง หลังจากที่เคยเป็น เมื่อนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ถูกนักข่าวฝรั่งเศสถามเรื่อง รัฐประหารในไทย เพราะมักจะมีการยึดอำนาจ ล้มรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ แต่คราวนี้คนที่ทำให้ “รัฐประหาร” เป็นข่าวคือ นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกลาโหมมีการประชุมสภากลาโหม โดยมี นายสุทินเป็นประธาน เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน มีการแก้ไขกฎหมาย กำหนดเงื่อนไขในการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล นอกจากจะต้องไม่มีพฤติกรรมเป็นผู้มีอิทธิพล หรือมีพฤติการณ์เกี่ยวกับยาเสพติดแล้ว ยังต้องไม่เคยใช้กำลังยึดอำนาจ หรือควบคุม การบริหารประเทศด้วยเป็นกฎหมายที่กำหนดคุณสมบัติ สำคัญในการดำรงตำแหน่งสำคัญในกระทรวงกลาโหม เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญมาตรา ๙๘ ที่กำหนดลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น สส. รัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี มีลักษณะต้องห้ามถึง ๑๘ ข้อ เช่น ติดยาเสพติดให้โทษ หรือเคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการแต่รัฐธรรมนูญไม่มีข้อห้าม ไม่ให้ใช้กำลังยึดอำนาจหรือทำรัฐประหาร ไม่ให้เป็น สส. หรือรัฐมนตรี แม้ ป.อาญามาตรา ๑๑๓ จะระบุว่า ผู้ที่ใช้กำลังยึดอำนาจเป็นการกระทำความผิดฐานเป็นกบฏต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต แต่กฎหมายกลาโหมห้ามแต่งตั้งนักรัฐประหารเป็นนายพลแต่เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นนายพล แล้ว ถ้าทำรัฐประหารสำเร็จ จะไม่มีกฎหมาย ห้ามเจริญก้าวหน้าในการเมืองและราชการ เพราะเมื่อยึดอำนาจแล้ว ชีวิตทางการเมืองมักจะรุ่งโรจน์ เป็นรัฐมนตรี หรือนายก รัฐมนตรี แต่ฝ่ายนักการเมืองอาจกลายเป็นผู้ต้องห้ามการเมืองตลอดชีวิต ถ้าโดนข้อหาฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงพรรคการเมืองและนักการเมือง อาจได้รับผลกระทบทางการเมืองร้ายแรง ไม่ใช่เพราะทำรัฐประหาร แต่เพราะเสนอแก้ไข ป.อาญา มาตรา ๑๑๒ อาจถูกยุบพรรค ในความผิดฐานล้มล้างการปกครองประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ขัดต่อหลักนิติธรรมหรือไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ ที่บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน” หรือไม่ ขอฝากประเด็นเหล่านี้ไว้กับคณะกรรมการศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำอย่างไรทุกคนจึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน.คลิกอ่านคอลัมน์ “บทบรรณาธิการ” เพิ่มเติม