วันอังคาร, 7 พฤษภาคม 2567

นักวิจัยเผยงูยุคก่อนประวัติศาสตร์ขนาดมหึมา

24 เม.ย. 2024
14

ในปีพ.ศ.๒๕๔๘ มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลกระดูกสันหลังของสัตว์ชนิดหนึ่งที่เหมืองถ่านหินลิกไนต์ ในรัฐคุชราต ทางตะวันตกของอินเดีย ในเบื้องต้น ทีมงานที่ค้นพบคิดว่ากระดูกเหล่านี้เป็นของสัตว์โบราณที่คล้ายจระเข้ จนกระทั่งนักวิจัยได้กำจัดตะกอนออกจากฟอสซิลในช่วงเริ่มต้นวิจัยในปีพ.ศ.๒๕๖๖ จึงพบว่าซากฟอสซิลนี้น่าจะเป็นของงูขนาดใหญ่ล่าสุด ทีมวิจัยนำโดยบรรพชีวินวิทยาจากสถาบันเทคโนโลยีอินเดียในรูร์คี อินเดีย เผยผลวิจัยใหม่ของฟอสซิลกระดูกสันหลังดังกล่าว ที่มีจำนวน ๒๗ ชิ้น ยาว ๑๕ เมตร ระบุเป็นงูขนาดใหญ่อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในอินเดียเมื่อประมาณ ๔๗ ล้านปีก่อน ทีมตั้งชื่องูยักษ์ตัวนี้ว่าชื่อว่า วาสุกรี อินดิคัส (Vasuki indicus) ตามตำนานงูที่พันรอบพระศอของพระศิวะ เทพในศาสนาฮินดู โดยลักษณะของวาสุกรี อินดิคัส คล้ายงูเหลือมตัวใหญ่ในยุคปัจจุบันและไม่มีพิษ เชื่อว่ามันเป็นนักล่าที่ใช้วิธีซุ่มโจมตีเหยื่ออย่างช้าๆ ด้วยการหดตัวแบบอนาคอนดาและงูเหลือม งูหลามอื่นๆ โดยอาศัยอยู่บนบกมากกว่าในน้ำเหมือนอนาคอนดา แต่ไม่น่าจะเกาะอยู่บนต้นไม้ได้เนื่องจากขนาดอันใหญ่โตของมัน นักวิจัยอธิบายเพิ่มว่างูเป็นสัตว์เลือดเย็นและต้องการความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด ขนาดของมันจึงขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่อบอุ่นนั่นเอง นักวิจัยยังเผยว่า วาสุกรี อินดิคัส ดูจะมีขนาดพอๆกับงูขนาดใหญ่ที่เคยค้นพบ นั่นคือไททันโอโบอา (Titanoboa) ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งฟอสซิลของไททันโอโบอาถูกค้นพบในโคลอมเบีย มีน้ำหนัก ๑,๑๔๐ กิโลกรัม และวัดจากจมูกถึงปลายหางได้ ๑๓ เมตร.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่