Saturday, 27 July 2024

สาเหตุนอนละเมอ กึ่งหลับกึ่งตื่น เด็กเป็นบ่อย เดินไม่รู้ตัวเสี่ยงอันตราย

27 Dec 2023
79

นอนละเมอทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นอีกหนึ่งสัญญาณบ่งบอกถึงคุณภาพการนอนที่ไม่ค่อยดี เป็นความผิดปกติของการนอนหลับ และอาจเกิดจากความผิดปกติของสมอง บางคนละเมอเดินยิ่งมีความเสี่ยงก่อให้เกิดอันตรายได้ง่าย อย่างล่าสุดคุณแม่รายหนึ่ง ได้โพสต์เตือนเป็นอุทาหรณ์ หลังสังเกตว่าลูกชาย วัย ๖ ขวบ นอนละเมอเกือบทุกวันเกรงว่าลูกจะไม่ปลอดภัย และมีคืนหนึ่งเห็นลูกชาย ตื่นมาตอน ๔ ทุ่มกว่า มีอาการละเมอ ท่าทางสะลึมสะลือ เดินลงมาข้างล่างไปเข้าห้องน้ำ ด้วยความเป็นห่วงของผู้เป็นแม่ได้ยืนรอหยิบน้ำให้ลูกกระดกกิน จากนั้นลูกเดินไปต่อและตอบแม่ว่าจะไปกินน้ำ แต่กลับเดินไปเปิดตู้เสื้อผ้า เมื่อแม่ถามว่าจะไปไหน ได้คำตอบจากลูกว่าจะออกไปข้างนอก ทำให้แม่รู้เป็นอาการละเมอ เพราะลูกชายนอนละเมอเกือบทุกวัน เคยละเมอพูดกับแม่ถามว่าหนูอยู่ไหน และบางทีจำพ่อไม่ได้ ถามว่าคนนี้คือใคร ทั้งที่เป็นพ่อตัวเอง จนเกิดความกังวลหากลูกชายละเมอเดินไปไหนต่อไหน โดยที่ไม่ได้อยู่กับแม่จะเกิดอะไรขึ้นtt ttละเมอเดิน วิ่ง เตะ ต่อย พฤติกรรมผิดปกติขณะหลับแล้วอาการละเมอขณะนอนหลับเกิดจากสาเหตุใด? “รองศาสตราจารย์พญ.ลัลลิยา ธรรมประทานกุล” ผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เคยให้ข้อมูลในรายการพบหมอรามาฯ ว่าเกิดขึ้นในขณะที่สมองของคนเราหลับลึกและมีการเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหัน โดยที่การเปลี่ยนแปลงนั้นคือมีคลื่นไฟฟ้าแบบการตื่นเข้ามาผสม ทำให้เวลาละเมอเป็นภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น มักเจอได้บ่อยในเด็ก คาดว่าสาเหตุของการละเมอนั้นอาจมาจากสมองที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงมีความเสี่ยงที่จะละเมอ และในส่วนของพันธุกรรมก็เป็นส่วนหนึ่ง หากพ่อแม่มีอาการละเมอ เด็กคนนั้นจะมีโอกาสละเมอมากกว่าคนอื่นเป็นเท่าตัว ปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการละเมอ ในเรื่องความเจ็บป่วยบางอย่างทางกาย การใช้ยาบางชนิด ความเครียด รวมถึงโรคบางอย่าง ทำให้การนอนหลับไม่เสถียร และมีอาการหลับๆ ตื่นๆ โดยปกติแล้วขณะนอนหลับร่างกายคนเราจะเข้าสู่วงจรการนอน สู่การหลับลึกและหลับฝัน แต่เมื่อมีการละเมอเกิดขึ้น ภาวะการนอนจะเปลี่ยนแปลงเป็นการตื่น ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นระยะ จนส่งผลให้คุณภาพการนอนลดลงtt ttอาการของการละเมอ แบ่งตามระยะการหลับไม่ลึกและหลับลึก หากเป็นระยะจากหลับไม่ลึกไปสู่การหลับลึก เรียกว่าระยะตาไม่กระตุก ส่วนระยะตากระตุกจะเป็นระยะหลับฝัน โดยการละเมอส่วนใหญ่เกิดในช่วงหลับลึกและหลับฝัน หากละเมอพูด ละเมอร้อง เหงื่อแตก ใจสั่น ละเมอเดิน มักเกิดในระยะหลับลึก ส่วนการละเมอในช่วงหลับฝันมักเป็นเหมือนฝันร้าย เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วจำได้ว่าเกิดอะไรขึ้น “ธรรมดาหากฝันว่าเดิน วิ่ง หรือต่อสู้ ร่างกายจะมีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นจริง แต่ถ้ารายไหนมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ว่าจะเดิน วิ่ง เตะ หรือต่อยเกิดขึ้นจริง ถือเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติขณะหลับ โดยการละเมอเดินเป็นความผิดปกติระหว่างช่วงหลับลึกกับหลับตื่น มีตั้งแต่กิจกรรมง่ายๆ ไปจนถึงกิจกรรมที่มีความซับซ้อน เช่น ละเมอขับรถ ละเมอมีเพศสัมพันธ์ แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นอาการจะน้อยลงกว่าวัยเด็ก ยกเว้นมีปัจจัยอื่นมากระตุ้น เช่น เรื่องราวในชีวิต ความเครียด เป็นต้น ส่วนมากเกิดขึ้นขณะหลับลึก”tt ttละเมอไม่เกินคืนละ ๑-๒ ครั้ง หากมากกว่า ควรพบหมอส่วนใหญ่คนเราจะมีการหลับลึกเป็นรอบๆ จึงมีการละเมอเกิดขึ้นไม่เกินคืนละ ๑-๒ ครั้ง พบได้น้อยมากที่จะเกิด ๓ ครั้งต่อคืน สำหรับอัตราการเกิดต่อสัปดาห์และเดือนจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละราย หากมีปัจจัยมากระตุ้นจะเกิดได้ค่อนข้างถี่ และผลกระทบที่ตามมาจากอาการละเมอคือวิตกกังวล เพราะคนกลุ่มนี้จะกังวลเมื่อต้องไปนอนที่อื่นที่ไม่ใช่บ้าน และมีปัญหากับคนในครอบครัวกรณีคนที่มีอาการละเมอควรพบแพทย์ก็ต่อเมื่อสงสัยว่าอาการละเมอนั้นอาจไม่ใช่อาการละเมอที่แท้จริง แต่อาจเป็นอาการชักขณะหลับ สังเกตจากทั่วไปคนเราจะละเมอคืนละ ๑-๒ ครั้ง หากมากกว่านั้นอาจไม่ใช่การละเมอ ควรไปพบแพทย์ และการละเมอเดินเป็นภาวะที่ควรพบแพทย์เช่นกัน เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายสูงมาก.