วันพฤหัสบดี, 2 พฤษภาคม 2567

พระนางพญาเนื้อว่านนุ่ม

14 เม.ย. 2024
12

ว่ากันด้วยเส้นสายลายพิมพ์ พระพิมพ์สะดุ้งมารสามเหลี่ยม เนื้อดินเผา ผิวพรรณนุ่มซึ้งสะดุดตา องค์ในคอลัมน์ คนเป็นพระ ดูปราดเดียวก็ตัดสินได้ เป็นพระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง ยอดนิยมอันดับหนึ่ง ในจำนวนพระนางพญาพิมพ์มาตรฐานวงการ ๖ พิมพ์ด้วยกันขึ้นต้นเหมือนคนขี้โม้ พูดออกจากปากพล่อยๆ…ก็ต้องถกแถลงชี้แจงความเป็นจริงไปทีละขั้นพระนางพญาวัดนางพญา ค่านิยมเกินล้านไปนาน…ปัญหาแม่พิมพ์ เส้นสาย ตำหนิพิมพ์ ตรงไหน อย่างไร พระปลอมทำตามได้…ไม่ยากนักขืนใช้หลักตำหนิพิมพ์ เหมือนดูเหรียญปั๊ม…ก็เสร็จมัน!ถึงวันนี้ ข้อชี้ขาดพระนางพญา วัดนางพญาแท้… ก็เป็นเช่นเดียวกับพระชุดเบญจภาคี ทุกองค์ เมื่อพิมพ์ทรงถูกต้อง ตำหนิก็ครบครัน ข้อตัดสินสุดท้าย…อยู่ที่ความเก่าถึงอายุของเนื้อโดยอายุพระนางพญาพิษณุโลก อยู่ราวๆ สี่ร้อยปี ค่านิยมสูงมาก โอกาสจับต้องของแท้…ของคนบุญมาวาสนาน้อย…มีน้อย ขอแนะให้เทียบเคียง กับพระชุดขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง เมืองสุพรรณบุรี ซึ่งยังพอพบปะสัมผัสได้พระบ้านกร่างราคาแม้จะแพงแล้ว ก็ยังอยู่ในหลักหมื่น ขึ้นหลักแสนเฉพาะพิมพ์ใหญ่องค์สวยเทียบเคียงเส้นสายลายพิมพ์ พระชุดบ้านกร่าง ศิลปะอยุธยายุคกลาง สอดคล้องกับความเชื่อว่า เป็นพระที่สมเด็จพระนเรศวร (องค์ดำ) สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) กษัตริย์อยุธยาสองพี่น้องทรงสร้างพระนางพญา ที่เชื่อกันว่า สร้างสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชบิดาพระราชมารดา สมัยครองพิษณุโลก ช่วงห่างอายุการสร้าง ก็แค่พ่อแม่กับลูกอ่านประวัติ ก็เชื่อมกันได้สนิท…ช่างฝีมือจากอยุธยากับช่างฝีมือพิษณุโลก…สกุลเดียวกันเมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่แปลก ที่จะเห็นทั้งเส้นสายลายพิมพ์ และสูตรผสมเนื้อพระ ที่เป็นดินผสมกรวดทราย…คล้ายกัน แต่ขนาดที่แตกต่าง บางคนอาจกังขา…ฝีมือสกุลช่างเดียวกัน แน่แค่ไหน?เริ่มกันที่พระบ้านกร่าง คุณมนัส โอภากุล เขียนไว้ในหนังสือพระเครื่องเมืองสุพรรณ นอกจากผิวพระบ้านกร่าง จะมีข้อสังเกตจากหลุมแร่หลุด เห็นเป็นร่อง เกือบทุกองค์แล้ว โครงสร้างเนื้อในพระบ้านกร่าง ฟ่ามฟ่าว เอาพระจุ่มน้ำแล้ว จะเห็นน้ำพุ่งออกมาเป็นสายๆ เหมือนน้ำที่พุ่งจากออกซิเจนตู้ปลาพระนางพญา เนื้อละเอียดแน่นกว่า หลุมแร่หลุด มีให้เห็นบ้าง แต่ก็น้อย แต่เมื่อจุ่มน้ำน้ำก็พุ่งขึ้นเป็นสายเหมือนพระบ้านกร่าง ยืนยันว่าโดยโครงสร้างเนื้อพระภายใน หลวมๆคือฟ่ามฟ่าวเช่นเดียวกันนอกจากนั้น เกณฑ์เฉลี่ยของเนื้อพระสองเมืองนี้ ก็คล้ายกันอีก ตรงที่มีระดับ ความนุ่มความแกร่ง ลดหลั่นใช้หลัก “ตรียัมปวาย” ครูท่านจำแนกเนื้อพระนางพญา ไว้หลายชั้น เริ่มแต่นุ่มเนียนตาที่สุด เนื้อว่านนุ่ม รองลงมาปรากฏเม็ดแร่บ้าง เรียกเนื้อดินนุ่ม และก็ไล่เรียงไปถึงเนื้อดินแกร่ง ฯลฯ เนื้อลุ่ย จนไปถึงเนื้ออิฐพระนางพญา พิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง องค์ในคอลัมน์ มีจุดเด่น ตรงที่เนื้อท่านนุ่มตามาก แม้ปรากฏส่วนนูนจากเม็ดแร่ให้เห็นบ้าง แต่ก็ยังจัดเป็นเนื้อว่านนุ่มได้ดูจากภาพเนื้อส่วนที่นูนถูกสัมผัสบ้าง เห็นเงาสว่างซึ้งรำไร แค่จับต้องตอนช่างถ่ายรูป ผิวน้ำผึ้ง (ภาษาคุณมนัส โอภากุล) ก็ปรากฏออกมาชัด พระเนื้อแบบนี้ ถ้าใช้ถูกเหงื่อไคลช้ำ นักเลงเก่าเรียกว่าเนื้อมะขามเปียกอยากฝึกสายตา เนื้อว่านนุ่ม ดินนุ่ม ดินแกร่ง ต่างอย่างไร ก็ต้องหาซื้อหนังสือของวงการมาดูเทียบเคียง หนังสือเล่มที่รวมนางพญาไว้กว่าสามสี่สิบองค์ เจอเนื้อว่านนุ่ม ได้แค่องค์สององค์เท่านั้นคำเตือน…ดูให้รู้ นางพญาเนื้อว่านนุ่ม นุ่มแค่นี้ อย่าถือเป็นหลักเนื้อพระแท้…เพราะโดยส่วนใหญ่เนื้อพระนางพญา มีแค่ดินนุ่ม ดินแกร่ง…เผลอยึดมาก จะดูเนื้อชั้นรองเป็นพระปลอม เสียของไปอีก.พลายชุมพลคลิกอ่านคอลัมน์ “ปาฏิหาริย์จากหิ้งพระ” เพิ่มเติม