วันพฤหัสบดี, 2 พฤษภาคม 2567

รับมือพม่าแตก

ข่าว “เขย่าขวด” สุดสัปดาห์นี้อยู่ในช่วงหยุดยาวเพื่อเฉลิมฉลองวันมหาสงกรานต์ ซึ่งเป็นวันปีใหม่ของไทยปีนี้รัฐบาลได้จัดงานอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะให้สงกรานต์เป็นเทศกาลที่โด่งดังในระดับโลกกำหนดให้มีการสาดน้ำ ๒๑ วัน เรียกว่าเกือบตลอดเดือนก็ว่าได้ เป็นการสืบสาน ประเพณีและส่งเสริมการท่องเที่ยวพูดง่ายๆว่าใน ๑ ปี “สงกรานต์” จะเป็นวันสำคัญวันหนึ่งที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกจะมาเมืองไทย เพื่อร่วมงานนี้“สงกรานต์” ถือเป็น ๑ ใน ๑๒ เทศกาลที่เป็นนโยบายของรัฐบาลแล้วคนใหญ่คนโตของบ้านเมืองเขาไปที่ไหนกันบ้าง?“เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรี แว่บไปหัวหินเพื่อร่วมฉลองกับครอบครัว หลังจากเปิดให้บรรดารัฐมนตรีรดน้ำดำหัวที่ทำเนียบรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้ว“ทักษิณ ชินวัตร” ผู้มีบารมีเหนือนายกรัฐมนตรี ขึ้นเหนือไปเชียงใหม่บ้านเกิด เพราะเป็นพื้นที่สำคัญหลายอย่างนอกเหนือจากต้นกำเนิดของ “สงกรานต์” แล้ว ยังเป็นฐานเสียงสำคัญทางการเมืองที่จะต้องปลุกเร้าคนเชียงใหม่ให้เลือก “เพื่อไทย” ของคนเชียงใหม่ด้วยกันแม้การเลือกตั้งต้องรออีก ๓ ปีกว่า แต่ต้องทำคะแนนตั้งแต่ต้นมือ เพราะจำนวน สส.ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นของ “ก้าวไกล” คู่แข่งสำคัญเป็นอันว่า ๒ ผู้ยิ่งใหญ่แยกกันไปคนละ จังหวัดเพื่อหวังผลในพื้นที่ที่กว้างขึ้นไม่ซ้ำรอยกันในห้วงเวลานี้ในฐานะที่รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบบ้านเมืองทุกเรื่อง ต้องทำการบ้านล่วงหน้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกัน ๒,๐๐๐ กว่ากิโลเมตร“เมียนมา” หรือ “พม่า” ที่กำลังเกิดปัญหาใหญ่!เนื่องจากรัฐบาลทหารของเมียนมาภายใต้ผู้นำทหารที่ยึดอำนาจมาจากรัฐบาล “อองซาน ซูจี” กำลังเพลี่ยงพล้ำอย่างหนักล่าสุดกลุ่มชาติพันธุ์ภายใต้การนำของกองกำลังสหภาพกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) และกลุ่มกะเหรี่ยงเคเอ็นยูพีซีและกองกำลังปกป้องประชาชน (พีดีเอฟ) ได้ยึดเมียวดี ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับแม่สอดของไทยมีการประเมินกันว่าเมียวดีจะเป็นจุดเริ่มต้นในลักษณะโดมิโนที่ทำให้เมืองอื่นๆ ถูกกลุ่มชาติพันธุ์ยึดครองได้ทั้งหมดอันหมายถึงความพ่ายแพ้ของรัฐบาลทหารแม้ไทยจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง เพราะยึดแนวทางเป็น “กลาง” คือมีสัมพันธ์กับทุกฝ่าย แต่เนื่องจากมีชายแดนที่ติดต่อกันยาวมากไม่ยุ่งก็ต้องยุ่ง…ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงต้องตั้งหลักให้ดี จะทำอย่างไรกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างนี้อย่างหนึ่งก็คือการรักษาอธิปไตยของชาติไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรุกล้ำ แต่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเกิดสงครามอย่างนี้การอพยพหนีภัยย่อมเกิดขึ้นแน่ จึงต้องเตรียมแผนต่างๆเอาไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอย่างไรกับผลที่จะเกิดขึ้นตามมาประเด็นที่สำคัญก็คือเมื่อสถานการณ์เป็นไปอย่างนี้ ทั้ง ๒ ฝ่าย จะต้องมีการเจรจาว่าจะทำอย่างไรต่อไป ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องเฉพาะ ๒ ฝ่ายนี้แล้วแต่จะเป็นเรื่องระดับโลกขึ้นมาทันทีเพราะแต่ละฝ่ายต่างก็มีชาติมหาอำนาจ หนุนหลังอยู่ ที่ผูกพันอย่างแยกไม่ออก ก็คืออาเซียน ซึ่งเมียนมาเป็นชาติสมาชิกอยู่ด้วยฐานะประเทศไทยจึงต้องเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย เพียงแต่จะมี “จุดยืน” อย่างไรเท่านั้นผลอีกอย่างหนึ่งที่แยกไม่ออก ก็คือ “ยาเสพติด” ที่ไทยจะต้องยกเป็นประเด็นในหัวข้อเจรจาด้วย เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่สร้างปัญหากับไทยมายาวนานแล้วรัฐบาลต้องมีคำตอบในใจแล้วว่า จะทำอย่างไร เพราะเชื่อว่าอีกไม่นานคงไปถึงจุดนั้น!“ลิขิต จงสกุล”คลิกอ่านคอลัมน์ “สับรางวันอาทิตย์” เพิ่มเติม