วันอาทิตย์, 12 พฤษภาคม 2567

“ปานปรีย์” ถกนัดแรก วางกรอบรับผู้อพยพเมียนมา-“ชลน่าน” ยันพร้อมดูแลด้านแพทย์

23 เม.ย. 2024
20

“รองนายกฯ ปานปรีย์” นั่งหัวโต๊ะ เป็นประธานประชุม คณะกรรมการสถานการณ์ไม่สงบในเมียนมานัดแรก วางกรอบรับผู้อพยพ และตั้งรับการรุกล้ำชายแดน ด้าน รัฐมนตรีว่าการสธ. เผย ลงพื้นที่แม่สอดวานนี้ดูแลความพร้อมทางการแพทย์วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๗ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจบริหารสถานการณ์อันเนื่องมาจากความไม่สงบในเมียนมาครั้งแรก ที่ตึกสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หลังจาก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ลงนามแต่งตั้ง โดยมีนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีอธิบดีกรมสารนิเทศ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ สมช. ร่วมประชุม ทั้งนี้ การประชุมในครั้งนี้ เป็นการหารือประเมินภาพรวมสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมาทั้งการเตรียมแนวทางรองรับการรับผู้อพยพจากความไม่สงบในประเทศเมียนมาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ รวมไปถึงการรุกล้ำเขตแดน แต่สถานการณ์ปัจจุบันยังคงเกิดขึ้นเป็นเฉพาะจุด ยังไม่มีการขยายวงกว้างมากนักซึ่งรายละเอียดทั้งหมดทางกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้แถลงข่าวทางด้าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ชายแดน อ.แม่สอด จ.ตาก ติดตามสถานการณ์ และการให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์แก่ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา วานนี้ (๒๒ เม.ย.) ว่าตนได้ไปดูพื้นที่ทั้ง ๔ จุด คือ รพ.แม่สอด ด่านสะพานมิตรภาพที่ ๑ ด่านสะพานมิตรภาพที่ ๒ และพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวที่เป็นศูนย์พักพิงผู้อพยพ สถานการณ์โดยรวมในการดูแลทางด้านการแพทย์ และสาธารณสุข มีผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยสะสม ตั้งแต่ก่อนสงกรานต์จนถึงวันที่ ๒๒ เม.ย. ๖๗ ทั้งสิ้น ๑๑๓ ราย รักษาที่โรงพยาบาลแม่สอด ๘๒ ราย โดยวันที่ ๒๐ เม.ย. ๖๗ มีผู้เข้ารับการรักษาเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการไปดูที่ด่านตนพบว่าวันที่ ๒๒ เม.ย. พบว่าบรรยากาศซบเซาเงียบเหงาเพราะไม่มีคนผ่านด่าน จากรายงานในด่านแจ้งว่าทางฝั่งเมียนมาแจ้งว่าระบบการทำหนังสือผ่านแดนไม่สามารถทำได้เพราะระบบล่มซึ่งที่ด่านมิตรภาพหนึ่งเป็นด่านสำหรับผู้คนที่เข้ามาก็จะมีการคัดกรองโรคตามระบบแต่ถ้ามีรถส่งต่อมาก็จะมีการคัดกรองว่าเป็นการส่งต่อนี่คือกระบวนการทั้งหมด ในส่วนของบริเวณจุดพักพิงพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวที่มี ๒ ศูนย์ ซึ่งมีผู้อพยพ ๓,๐๐๐ คน วานนี้ (๒๒ เม.ย.) มีการเดินทางกลับบางส่วนทำให้เหลืออยู่เพียงศูนย์เดียวจำนวน ๙๐๐ คน ซึ่งเราได้จัดหน่วยพยาบาลดูแลเบื้องต้น มีการคัดกรองตรวจค้นหาโรค ซึ่งในการคัดกรองไข้มาลาเรียเรานำมาเจาะเลือด ๓๐๐ คน พบ ๑ คนเป็นไข้มาลาเรีย นี่คือภาพรวมของสถานการณ์ทั้งหมด ซึ่งเรามีความพร้อมในการดูแลทางการแพทย์ และมีความพร้อมที่จะประกาศแผน