วันเสาร์, 4 พฤษภาคม 2567

ตะลุยป่าไม้ไซบีเรีย (๙)

25 เม.ย. 2024
30

สนทนากับโรงงานไม้เกือบทุกแห่ง จะได้ยินคำว่า ‘โลกร้อน’ โรงไม้ที่นี่จึงตัดไม้ ๑ ต้น และจะปลูกทดแทน ๓ ต้น การใช้อิฐ หิน ปูน ทราย เหล็ก ทองแดง ทองเหลือง ใช้แล้วก็สร้างกลับคืนไม่ได้ ภูเขาหินปูนลูกใหญ่ๆ ให้สัมปทานไปไม่กี่ปี โดนระเบิดหายไปทั้งภูเขา ให้มีเงินอีกแสนล้านก็ไม่สามารถจะเรียกทรัพยากรธรรมชาติภูเขาหินปูนนี้กลับมาได้การตัดไม้นำมาก่อสร้าง ๑ ต้น และปลูกทดแทน ๓ ต้น ป่าไม้ก็จำนวนเท่าเดิมหรือมากกว่า การโตของไม้มี ๒ แบบ คือโตแบบ primary growth และแบบ secondary growth แบบไพรมารีโกรทก็คือโตตามปกติ สูงเท่ากับพันธุ์ของตัวเอง แต่พอโตได้สูงสุดแล้วก็ถึงช่วงเซคันดารีโกรท ที่ต้นไม้จะขยายออกข้างทำให้มีเส้นรอบวงมากขึ้นป่าไม้ในไซบีเรียมีมากถึง ๘ ล้านกว่าตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าพื้นที่ของออสเตรเลียทั้งทวีป ต้นไม้ที่กำลังโตจะสร้างอาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ที่ใช้ทั้งแสง น้ำ คลอโรฟิลด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อทำให้ได้น้ำ น้ำตาล และออกซิเจน ต้นไม้ส่วนใหญ่ในไซบีเรียอายุเกิน ๑๐๐ ปี ยิ่งอายุมากก็ดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้น้อยลง ปล่อยก๊าซออกซิเจนน้อยลงขึ้นไม้ในไซบีเรียถูกนำมาใช้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร อยู่ได้นานเกิน ๑๐๐ ปี ถ้าจะไปใช้ในภูมิภาคอื่น ก็ต้องระวังเรื่องปลวก แต่ถ้าเอาอาหารปลวกออกจากเนื้อไม้ ไม้ก็จะอยู่ได้ยาวนานหลายร้อยปี โดยที่ไม่มีแมลงมารบกวนไม้มีองค์ประกอบ ๓ ส่วน ส่วนแรกคือ ‘เซลลูโลส’ (สารประกอบอินทรีย์ที่เกิดจากกลูโคสประมาณ ๕ หมื่นโมเลกุลมาเชื่อมต่อเป็นสายยาว) ส่วนที่สองคือ ‘เฮมิเซลลูโลส’ (โพลีแซ็กคาไรด์ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาล ๕ คาร์บอนอะตอม และ ๖ คาร์บอนอะตอมต่อการเป็นพอลิเมอร์สายสั้น) และส่วนที่สามคือ ‘ลิกนิน’ (ชั้นของพอลิเมอร์ ธรรมชาติ เป็นส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์ที่มีคุณสมบัติแข็งแกร่ง และไม่เน่าเปื่อยง่าย)ถ้ากลัวปลวกก็ใช้เทคโนโลยีเทอร์โมวูด เป็นการเอาอาหารของปลวกซึ่งก็คือเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสออก ไม้ก็จะอยู่ได้นาน แต่ค่าความแข็งของไม้จะหายไปร้อยละ ๒๐ต้นไม้ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยก๊าซออกซิเจน หากจะแก้ปัญหาโลกร้อน ก็ต้องเริ่มการปลูกต้นไม้กันจริงจัง กล้าไม้เล็กๆราคาต้นละ ๑-๒ บาท นำไปปลูก ๑๐ ปีก็ขายเป็นเนื้อไม้ได้ในราคาหลายหมื่น ระหว่างเติบโตก็ดูดคาร์บอนไดออกไซด์ และปล่อยออกซิเจนให้เรารัฐบาลของบางประเทศกู้เงินมาใช้จ่ายรวมแล้วหลายล้านล้านบาท ถ้าตอนนั้นแบ่งมาสัก ๕ หมื่นล้าน ปลูกต้นไม้ทั่วประเทศ ๕ หมื่นล้านต้น เวลาผ่านไป ๑๐ ปี มูลค่าไม้เหล่านี้เพิ่มเป็นหลายล้านล้านบาท แถมระหว่างนั้นก็ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้นสถาบันวิจัยผลกระทบทางสภาพภูมิอากาศแห่งพอสดัมของเยอรมนีศึกษาผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกจากภาวะโลกร้อนพบว่า ภายใน ค.ศ.๒๐๕๐ เศรษฐกิจโลกจะเสียรายได้ร้อยละ ๑๙ ของรายได้ทั้งหมดหรือ ๓๘ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (๑.๔ พันล้านล้านบาท) ความเสียหายเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากการที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น + การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝน + ความแปรปรวนของอุณหภูมิแม็กซิมิเลียน ค็อตซ์ นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยฯ เปิดเผยว่า จากการศึกษาข้อมูลของภูมิภาคต่างๆ มากกว่า ๑.๖ พันแห่งย้อนหลังไปเป็นเวลา ๔๐ ปี ภูมิภาคที่ในอนาคตจะเผชิญกับรายได้ที่จะลดลงอย่างฮวบฮาบคืออเมริกาเหนือ (สหรัฐฯและแคนาดา) และทวีปยุโรป ที่กระทบหนักที่สุดคือเอเชียใต้และแอฟริกา กระทบทั้งผลผลิตทางการเกษตร แรงงาน และโครงสร้างพื้นฐานแต่เดิมเมื่อได้ยินคำว่า ‘ตัดไม้ทำลายป่า’ เราก็โกรธ แต่พอได้ฟังคำอธิบาย และเข้าไปดูในโรงงานในไซบีเรีย ก็จึงเข้าใจเรื่องข้อดีของการตัดไม้แก่ และการปลูกทดแทน ประเทศไหนใช้ไม้มากก็จะยิ่งส่งเสริมให้มีการปลูกทดแทนเยอะ เรื่องอย่างนี้ รัฐต้องเร่งให้ความรู้กับประชาชน สุดท้ายผมเชื่อว่า ป่าไม้ในไซบีเรียจะยังคงสภาพเป็นปอดให้ยุโรปต่อไปอีกนับศตวรรษ.นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัยsonglok๑๙๙๗@gmail.comคลิกอ่านคอลัมน์ “เปิดฟ้าส่องโลก” เพิ่มเติม