Tuesday, 21 May 2024

ปัญญาประดิษฐ์ ปี ๒๕๖๖ ผู้ช่วยอัจฉริยะหรือหายนะของมนุษยชาติ

30 Dec 2023
63

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปี ๒๕๖๖ เป็นปี “แลนด์มาร์ก” สำคัญที่โลกได้เห็นการพัฒนาเทคโนโลยี “ปัญญาประดิษฐ์” หรือเอไอ อย่างก้าวกระโดด ชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน บริษัทเทคโนโลยีน้อยใหญ่ทั่วโลกเรียงขบวนเปิดตัวผลิตภัณฑ์สุดล้ำอย่างไม่สิ้นสุด ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อมนุษย์ในภาคส่วนต่างๆ อย่างลึกซึ้ง ขณะที่ยังเดินหน้าแข่งขันคิดค้นนวัตกรรมยิ่งใหญ่ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งนักวิเคราะห์เชื่อว่าด้วยความฉลาดล้ำของปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถวิเคราะห์ แยกแยะได้อย่างแม่นยำ ทั้งยังไม่งอแง ไร้อารมณ์ความรู้สึก จึงช่วยลดเวลาทำงานไปได้ ๔๐% ผู้บริหารดรีมเวิร์คส์ สตูดิโอภาพยนตร์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ยังคาดการณ์ว่าจะช่วยลดต้นทุนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันลงได้ ๙๐% จากเดิมที่ต้องใช้ศิลปินราว ๕๐๐ คน กับเวลาอีกหลายปีต่อแอนิเมชัน ๑ เรื่องอิทธิฤทธิ์ของปัญญาประดิษฐ์ช่วยสร้างสรรค์งานศิลป์ระดับมีรางวัลการันตี เช่น ช่างภาพชาวเยอรมัน บอริส เอลดากเซน ใช้โปรแกรมเอไอ “DALL-E ๒” เปลี่ยนตัวหนังสือเป็นภาพที่มีความละเอียดสูง เป็นผลงานชื่อ “The Electrician” คว้ารางวัลที่ ๑ ด้านความสร้างสรรค์จากการประกวดภาพถ่าย Sony World Photography Award ๒๐๒๓ แต่ปฏิเสธรับรางวัลหลังเปิดเผยว่าเป็นฝีมือของเอไอ ก่อนหน้านั้นภาพ “Space Opera Theatre” จากซอฟต์แวร์วาดรูป “Midjourney” ของเจสัน อัลเลน ประธานบริษัทเกม ในรัฐโคโลราโด สหรัฐฯ ที่ไม่เคยวาดภาพส่งประกวดมาก่อน ได้รับรางวัลสูงสุดประเภท “ศิลปะดิจิทัล” จากงานประกวดศิลปะของรัฐโคโลราโดเมื่อปีก่อน น่าเสียดายที่สำนักงานลิขสิทธิ์สหรัฐฯ ชี้ขาดในปีนี้ว่าภาพนี้ไม่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์เพราะไม่ใช่ผลงานจากฝีมือมนุษย์tt ttศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ชิงหวา ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ก็เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่พึ่งพาปัญญาประดิษฐ์เขียนนิยายวิทยา ศาสตร์ทั้งเล่มตั้งแต่โครงเรื่อง เนื้อหา ภาพประกอบ ไปจนถึงนามปากกา ออกมาเป็น “The Land of Machine Memories” ในเวลาเพียง ๓ ชั่วโมง คว้ารางวัลที่ ๒ จากการประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ในมณฑลเจียงซู @@ ความเหนือชั้นของเอไอยังช่วยแยกเสียงร้องของจอห์น เลนนอน ที่ถูกอัดเสียงลงในคาสเซตขณะเล่นเปียโนตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ และปรับคุณภาพเสียงแทร็กกีตาร์ของจอร์จ แฮริสัน ที่บันทึกไว้ในปี ๒๕๓๘ ก่อนเสียชีวิต เข้ากับการบันทึกเสียงใหม่ของพอล แม็คคาร์ตนีย์ และริงโก สตารร์ เมื่อต้นปี จนได้ซิงเกิลสุดท้ายของเดอะ บีเทิลส์ “Now and Then” อย่างสมบูรณ์แบบ ปูทางสู่การรีมาสเตอร์สิ่งบันทึกต่างๆ ในอดีต เพื่อการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมต่อไปปัญญาประดิษฐ์ยังขับเคลื่อนพัฒนาการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเด่นชัด ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคที่ซับซ้อนได้อย่างแม่นยำมากขึ้นพร้อมเสนอทางเลือกในการรักษา ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง หรือตรวจหาอาการออทิสติกในเด็กจากการวิเคราะห์ภาพ ถ่ายดวงตาที่แม่นยำถึง ๑๐๐% เช่นเดียวกับการร่นเวลาและงบประมาณในการคิดค้นยาชนิดใหม่ในเวลาสั้นลงอย่างน่ามหัศจรรย์ ปัจจุบันยาตัวแรกจากเอไอเต็มรูปแบบเข้าสู่การทดลองทางคลินิกกับผู้ป่วยในมนุษย์แล้วเมื่อกลางปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ยังพัฒนาเทคโนโลยีเอไอถอดรหัสภาพจากสมองของมนุษย์เพื่อต่อยอดพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารและการแพทย์ต่อไป ขณะที่มีการพัฒนาหุ่นยนต์ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ เอลลี คิว (ELLiQ) รูปร่างคล้ายโคมไฟ ทำหน้าที่เป็นเพื่อนพูดคุยช่วยลดความเหงาแก่ผู้สูงวัยที่อยู่เพียงลำพังtt ttในทางกลับกันการพัฒนาอย่างรวดเร็วของระบบปัญญาประดิษฐ์ก็เปรียบเสมือนกับภัยคุกคามที่ค่อยๆคืบคลานทีละเล็กละน้อย ไม่ต่างอะไรกับช่วงการพัฒนาอุตสาหกรรมหลายทศวรรษที่ผ่านมา…ในครั้งนั้น เห็นได้ชัดว่าสิ่งที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ “ตลาดแรงงาน” อาชีพหลากหลายประการได้ถูกแทนที่โดย “เครื่องจักรกล” หรือ “ซอฟต์แวร์” โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถลดพนักงานได้ตามกระบวนการผลิตที่ง่ายขึ้น จากเดิมการประกอบสินค้าชิ้นหนึ่งที่ใช้พนักงาน ๔ คน สามารถจบลงได้ด้วยแขนกล ๑ เครื่อง ตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสารถูกจัดระเบียบแทนที่โดยโปรแกรมสำเร็จรูป กระบวนการทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ต้องมีผู้ประสานงาน สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวลูกค้าเองเพียงแค่ใช้ปลายนิ้วสัมผัสแต่สำหรับระบบปัญญาประดิษฐ์ “สมองกล” แน่นอนว่าย่อมถูกออกแบบเพื่อช่วยในเรื่อง “ความคิด” จึงสามารถตีความได้ว่า เป้าหมายต่อไปของการพัฒนามวลมนุษยชาติได้มองไปถึงจุดที่มนุษย์มีคนมาช่วยคิดแทน และหลีกหนีไม่พ้นที่ “ตลาดสมอง” กำลังจะเป็นสิ่งต่อไปที่จะได้รับผลกระทบ ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ไซไฟในอดีตเคยปรามาสว่าเครื่องจักรไม่มีความสามารถในการสร้างสรรค์ศิลปะ วรรณกรรม หรือสิ่งที่สวยงามได้เหมือนคน แต่ปัจจุบันนี้ก็เห็นแล้วว่า ประเด็นนี้ได้ถูกหักล้างไปอย่างสมบูรณ์ ภาพเขียนจิตรกรรมโดยระบบเอไอคว้ารางวัลชนะเลิศในเวทีประกวดในสหรัฐฯ จนกลายเป็นประเด็นโวยวายว่าไม่ยุติธรรมtt ttเพียงแต่กำหนดโจทย์ให้ปัญญาประดิษฐ์รับทราบว่า ต้องการสิ่งใด ธีมไหน สมองกลยุคนี้ก็สามารถถวายใส่พานมาให้อย่างเพียบพร้อม อย่างระบบ “ChatGPT” ยิ่งฐานข้อมูลมากขึ้นก็ยิ่งพัฒนาก้าวกระโดด แต่งนิยายสั้น เขียนบทความออกมาได้ภายในพริบตา จนยากจะแยกแยะความแตกต่าง ถึงจะไม่ใช่เอไอขั้น “สมบูรณ์” ที่ดูมีชีวิต แต่ในด้านประสิทธิภาพ ความสามารถก็เริ่มที่จะเหนือล้ำกว่าคนเราไปทุกขณะ ในแวดวงข่าวสารมีเสียงกังวลแล้วว่า กำลังมีระบบมอนิเตอร์ข่าว ผลิตเบรกกิ้งนิวส์ หรือข่าวด่วน ในระดับที่สำนักข่าวใหญ่ๆตามไม่ทัน ระบบเอไอดังกล่าวจะทำการตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและถูกเผยแพร่ลงในอินเตอร์เน็ต ก่อนนำมาถ่ายทอดต่อสาธารณชนได้เหมือนกับเป็นสื่อมวลชน ที่สำคัญทางระบบยังสามารถ “สแปม” หรืออัดข้อมูลจนเต็มฟีด เพื่อให้คนเห็นและสนใจแต่ข่าวดังกล่าวตามที่ได้รับคำสั่ง ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว พ่วงมาด้วย “ผู้ประกาศข่าว” ที่ใช้กราฟิกคอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมาเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ จนนักวิชาการแวดวงสื่อมองแง่ร้ายกันแล้วว่า สำนักข่าวกระแสหลักกำลังจะกลายเป็น “ตลาดเฉพาะทาง” เพราะไม่มีทางที่จะแข่งความเร็วในการนำเสนอกับระบบเอไอมีข้อโต้แย้งอีกว่า ถึงสิ่งที่ว่ามานี้จะถูกคุกคามโดยระบบเอไอ แต่สุดท้ายแล้ว “การเจรจา” ใดๆไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย ข้อตกลง สนธิสัญญาก็ต้องเกิดขึ้นระหว่างคนกับคนอยู่ดี อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา กลายเป็นครั้งแรกของโลกที่บริษัท ๒ บริษัทในอังกฤษ ทดสอบให้ระบบเอไอลองคุยกันเอง เพื่อดูว่าจะสามารถตกลง “ผลประโยชน์” มาได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งผลคือสมองกลสามารถเข้าใจความถูกต้องของข้อกฎหมาย บริษัทตัวเองมีดีเช่นไร อะไรคือจุดแข็งและจุดอ่อน จนบรรลุดีลที่มีความวิน-วิน รู้สึกดีกันทั้งสองฝ่ายtt ttที่กล่าวมานี้ยังไม่รวมถึงวงการ “ความมั่นคง” ที่เป็นต้นตอของเทคโนโลยีทั้งหลายทั้งปวงที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ระบบเอไอได้เริ่มถูกนำมาใช้เก็บประวัติคัดกรองคน ลองนึกภาพว่าหากนำไปประยุกต์ใช้ในการแยกแยะ “มิตร” หรือ “ข้าศึก” (แบบระบบ IFF ทางการทหาร) แล้วจะมีประสิทธิภาพ หรือโกลาหลเช่นไร อย่างไร ก็ตาม อนาคตที่ว่านี้ก็คงอีกไม่ไกล เนื่องจาก สงครามใหญ่ในยุโรปตั้งแต่ปีที่ผ่านมาทำให้เราเห็นกันแล้วว่า การใช้อาวุธไร้คน “โดรน” มีความโหดร้ายอย่างยิ่ง ทุกวันนี้แน่นอนว่ายังเป็นมนุษย์ที่เป็นผู้บังคับควบคุม แต่ในวันหน้าเล่าจะเป็นอย่างไร เพราะบริษัทอาวุธยักษ์ใหญ่ก็เริ่มสนใจไอเดียใช้เอไอรบ อย่างโปรเจกต์นักบินสมองกล ทำหน้าที่เป็น “วิงแมน” นักบินคู่หูให้กับนักบินที่เป็นมนุษย์ หากเพื่อนมนุษย์อยู่ในอันตรายก็พร้อมจะนำตัวเข้าแลก ยอมตายแทน หรือหากภารกิจมีความสำคัญยิ่งยวดก็พร้อมที่จะกามิกาเซ่ บินเข้าพุ่งชนทำลายเป้าหมาย จึงเป็นคำถามที่เราทุกคนต้องหาคำตอบกันว่า กรอบการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ควรอยู่ที่จุดใด เพราะหากดูจากรูปการณ์แล้ว ผู้ออกแบบทั้งหลายก็อยากจะประสบความสำเร็จในการสร้างเอไอที่เหนือชั้นขึ้นไปเรื่อยๆ โดยลืมชำเลืองมองผลเสียที่อาจตามมา.ทีมข่าวต่างประเทศอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่