Monday, 20 May 2024

พบยางพาราทนโรคใบร่วง แถมได้น้ำยางเพิ่มเท่าตัว

06 Feb 2024
45

ด็อกเตอร์สมบัติ ชนะสิทธิ์ ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญภัยแล้งจากเอลนีโญ สภาผู้แทนราษฎร เผยว่า จากการได้ลงพื้นที่ร่วมกับ ด็อกเตอร์กฤษฎา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เข้าเยี่ยมชมการผลิตกล้ายางพาราปลอดโรคของจิ้นพันธุ์ยางและปุ๋ย ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา พบว่า เจ้าของจิ้นพันธุ์ยาง ได้นำยางพาราสายพันธุ์ RRIT ๓๙๐๔ และ RRIT ๓๘๐๒ จากงานวิจัยของศูนย์การยางฉะเชิงเทราที่ทำมาร่วม ๒๐ ปี มาทำการศึกษาทดลองปลูกเมื่อประมาณ ๕ ปีที่แล้ว ปรากฏว่า ยางพาราทั้งสองสายพันธุ์ต้านทานโรคใบร่วงได้เป็นอย่างดีtt tttt tt“แต่การจะนำไปปลูกให้ทนต่อโรคใบร่วงได้ มีเคล็ดลับสำคัญอยู่ตรงการปักชำกล้ายางในถุงชำ จะต้องใช้ดินที่มีส่วนผสมของสารปรับปรุงดินที่ช่วยให้กล้ายางมีความแข็งแรง ตั้งแต่แรก ถ้าอนุบาลบำรุงให้ต้นกล้าแข็งแรง เมื่อกล้าเจริญเติบโตขึ้นมาจะสามารถทนต่อโรคได้หลายชนิด ไม่ใช่เพราะโรคใบร่วงอย่างเดียว เพราะทางเจ้าของจิ้นพันธุ์ยาง ได้ทำการทดลองมาแล้วหลายสูตร และนำไปปลูกเปรียบเทียบกับกล้ายางที่ชำแบบธรรมดาทั่วไป ปรากฏว่า กล้ายางที่อยู่ในถุงใส่ดินธรรมดาจะไม่สามารถทนต่อโรคใบร่วงได้ ส่วนยางในถุงที่ใส่ดินสูตรบำรุงกล้ายาง สามารถสู้กับโรคใบร่วงได้ และทางเจ้าของจิ้นพันธุ์ยางได้นำยางพาราทั้งสองพันธุ์ไปจดทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) อย่างเป็นทางการแล้ว และได้จำหน่ายพันธุ์ไปให้เกษตรกรนำไปปลูกแล้วในหลายพื้นที่ จ.สงขลา มีการปลูกใน อ.สะเดา อ.คลองหอยโข่ง จำนวนหลายร้อยไร่ จ.นครศรีธรรมราช ประมาณ ๔๐๐ ไร่ และ ที่ จ.ยะลา ประมาณ ๓๐๐ ไร่ และ จ.กระบี่ ประมาณ ๔๐๐ ไร่ โดยมีแปลงต้นแบบ ๑๕ ไร่ ที่ อ.คลองหอยโข่ง ให้เข้าไปศึกษาดูงานได้”tt tttt ttดร.สมบัติ ยังเผยอีกว่า ยางพาราทั้ง ๒ พันธุ์ที่ถูกนำไปปลูก นอกจากจะทนต่อโรคใบร่วงแล้ว ในแปลงที่เริ่มกรีดน้ำยางได้ยังจะให้น้ำยางสดเพิ่มขึ้นถึง ๒ เท่าตัว ประมาณไร่ละ ๔๗๕ กก./ปี ในขณะที่ยางพาราเดิมที่เกษตรกรปลูกกันจะให้น้ำยางสดแค่ไร่ละ ๒๒๐ กก./ปีเท่านั้นเอง ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่เกษตรกรจะซื้อกล้ายางพันธุ์ใหม่ไปปลูกจะต้องดูใบรับรองพันธุ์ให้ดีด้วย ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาเหมือนที่ จ.สุโขทัย และ จ.น่าน ที่ได้ยางพันธุ์ไม่ได้มาตรฐานจากภาคใต้ไปแล้ว ทำให้เกิดโรคใบร่วงระบาดตามมา.tt ttคลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม