Tuesday, 21 May 2024

มรภ.อุดรธานี ชูต้นแบบพัฒนาท้องถิ่น ด้วยวิจัยนวัตกรรม "วิศวกรสังคม"

12 Feb 2024
51

วช. หนุน “วิศวกรสังคม” มรภ.อุดรธานี ชูต้นแบบการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นด้วยวิจัยและนวัตกรรม โดยนำหลักแนวคิด ๔ ประการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ให้นักศึกษาคัดเลือกปัญหาจากชุมชน ลงพื้นที่จริงเพื่อสำรวจปัญหา และถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยและเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมสู่ชุมชน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เมื่อวันที่ ๑๑ ก.พ. ๖๗ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของ “วิศวกรสังคม” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดย ด็อกเตอร์วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ๓๘ แห่งทั่วประเทศ ในการบ่มเพาะวิศวกรสังคมด้วยกระบวนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อแก้โจทย์ปัญหาเชิงพื้นที่ โดยอาศัยแนวทางกระบวนการ “วิศวกรสังคม” ที่ วช. สนับสนุนให้มีกระบวนการนำวิศวกรสังคมที่ผ่านการบ่มเพาะ นำความรู้ไปพัฒนาพื้นที่ด้วยวิจัยและนวัตกรรม ให้วิศวกรสังคมร่วมกันพัฒนาโจทย์และการปฏิบัติงานร่วมกับท้องถิ่นได้อย่างมีส่วนร่วม และมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นtt ttผศ.ด็อกเตอร์คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวว่า โครงการ “บ่มเพาะเพื่อพัฒนาสังคมเชิงพื้นที่ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม” เป็นรูปแบบที่ช่วยให้ มรภ.อุดรธานี สามารถขับเคลื่อนพัฒนานักศึกษา และดำเนินงานเพื่อการพัฒนาชุมชนได้ตรงตามต้องการของชุมชนนั้นๆ โดยนำเอากระบวนการวิศวกรสังคมมาพัฒนานักศึกษาให้มีประสบการณ์และทักษะการทำงานจริงร่วมกับชุมชน นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพ ตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ซึ่งโครงการดังกล่าวมุ่งเน้นเสริมสร้างศักยภาพของนักศึกษา โดยนำหลักแนวคิดของวิศวกรสังคมทั้ง ๔ ประการ ได้แก่ ๑. การคิดเชิงวิพากษ์ ๒. ความคิดสร้างสรรค์ ๓. ทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่น และ ๔. การสื่อสาร อันเป็นทักษะจำเป็นเพื่อศตวรรษที่ ๒๑ และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนดร.เอกราช ดีนาง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้นำเสนอการดำเนินโครงการวิศวกรสังคม ว่า มรภ.อุดรธานี มีการพัฒนาและอบรมคณาจารย์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในวิศวกรสังคมมากยิ่งขึ้น และนำสิ่งที่ได้รับมาปรับใช้เพื่อถ่ายทอดให้นักศึกษาในโครงการฯ เพื่อผลิตบัณฑิตนักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักสร้างนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น ด้วยการให้นักศึกษาคัดเลือกปัญหาจากชุมชน ลงพื้นที่จริงเพื่อสำรวจปัญหา และถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยและเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมสู่ชุมชน tt ttอาจารย์ศิรินทิพย์ คำมีอ่อน คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ กล่าวเสริมว่า มรภ.อุดรธานี ได้ดำเนิน “โครงการศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ประจำปี ๒๕๖๖”  ซึ่งมีโครงการย่อยที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว โดยกลุ่มนักศึกษาวิศวกรสังคมและอาจารย์ที่ปรึกษาประจำพื้นที่ จำนวน ๑๐ โครงการ ได้แก่ ๑) โครงการ Amazing Herb บ้านเชียงกรม ต.นาม่วง อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี ๒) โครงการสื่อความหมายการท่องเที่ยวด้วยเครื่องมือวิศวกรสังคม เรียงร้อยเรื่องราว ให้เป็นเรื่องเรา สู่เรื่องเล่าที่เราภูมิใจ บ้านสะพานหิน ต.ท่าลี่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ๓) บ้านคำชะโนด ต.วังทอง อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี ๔) โครงการผลิตภัณฑ์ข้าวเคลือบสมุนไพร ต.อุ่มจาน อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี ๕) โครงการฮีลใจวัยรุ่น พื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี tt tt๖) โครงการ Zero Waste ลดขยะให้เป็นศูนย์ และถนนต้นแบบปลอดอุบัติเหตุ ต.สามพร้าว อ.เมือง จ.อุดรธานี ๗) โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงปรุงรสเห็ดมหัศจรรย์ ต.หาดคำ อ.เมือง จ.หนองคาย ๘) โครงการนวัตกรรมเครื่องสอยกก และโครงการนวัตกรรมกระดานกินหลากหลาย โรงเรียนบ้านนาม่วง อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี ๙) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริม Self Esteem ทักษะชีวิตและการเท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงจังหวัดอุดรธานี ๑๐) โครงการการพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานคุณลักษณะวิศวกรสังคมสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งนี้ มรภ.อุดรธานี ได้นำผลการดำเนินงานของ ๑๐ โครงการข้างต้น มาจัดแสดงนิทรรศการ พร้อมการนำเสนอผลการดำเนินงานโดยนักศึกษาในโครงการ ซึ่งคณะผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ได้ร่วมชมนิทรรศการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพ ขยายเครือข่ายและสร้างความสัมพันธ์ในสาขาต่างๆ และช่วยให้โครงการวิศวกรสังคมสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ดีขึ้นต่อไป.tt tt