วันศุกร์, 3 พฤษภาคม 2567

“ธีรยุทธ” ร้องผู้ตรวจฯ ปมคัดเลือก สว. ชี้เลือกกันเองอาจขัดรธน. ม.๑๐๗

20 เม.ย. 2024
14

ทนายความอิสระ “ธีรยุทธ สุวรรณเกษร” ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ปมการได้มาซึ่ง สว. ชี้ขั้นตอนเลือกกันเองอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๗วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๗ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินผ่านนายปิยะ ลือเดชกุล ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ขอให้พิจารณาเสนอเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย กรณีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๖๑ ม.๔๐, ม.๔๑ และ ม.๔๒ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ม.๑๐๗ หรือไม่โดยผู้ร้องเห็นว่าเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๗ ที่บัญญัติว่า “มาตรการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้การเลือกกันเองเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม” ต้องบัญญัติมาตรการเพื่อป้องกันผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภามีการสมยอมกันในการเลือกกันเองโดยไม่เลือกตนเอง ต้องสันนิษฐานว่ามีการสมยอมกันในการเลือก และถือว่าการเลือกไม่เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม จึงบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๖๑ มาตรา ๙๔ (๗) มาตรา ๙๕ (๗) และมาตรา ๙๖ (๔) แต่ปรากฏว่ามาตรา ๔๐ (๑)-(๘) การเลือกกันเองระดับอำเภอ, มาตรา ๔๑ (๑)-(๘) การเลือกกันเองระดับจังหวัด และมาตรา ๔๒ (๑) ถึง (๖) การเลือกกันเองระดับประเทศ กลับไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภามีการสมยอมกันในการเลือกกันเองโดยไม่เรียกตนเองต้องสันนิษฐานว่ามีการสมยอมกันในการเลือกและถือว่าการเลือกไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมจึงเป็นการบัญญัติที่อาจทำให้การเลือกสมาชิกวุฒิสภาเฉพาะในขั้นตอนผู้สมัครเลือกกันเองไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมมีผลให้บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวตราขึ้นโดยขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๗