Tuesday, 21 May 2024

นาเปียกสลับแห้ง..ผลผลิตสูง

23 Jan 2024
44

นายวิชัย ทวินันท์ ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เมืองสรวง ต.หนองหิน อ.เมืองสรวง จ.ร้อยเอ็ด นับเป็นหนึ่งเกษตรกรตัวอย่างที่มีความมุ่งมั่นในการทำเกษตรผสมผสาน จนประสบผลสำเร็จ ได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ Organic Thailand และพัฒนาสถานที่พักอาศัยเป็นศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านจากจุดเริ่มต้นทำเกษตรผสมผสานมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ โดยมีแนวคิดต้องการเปลี่ยนจากการทำเกษตรแบบใช้สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ มีการปลูกพืชแบบผสมผสานบนพื้นที่ ๗ ไร่ แบ่งเป็น นาข้าวอินทรีย์ ๒ ไร่ ไม้ผลและไม้ยืนต้น ๒ ไร่ ปศุสัตว์ ๑ ไร่ และสระน้ำ ๒ ไร่ที่น่าสนใจ คือ การทำนาข้าวอินทรีย์ พันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ แบบเปียกสลับแห้ง… ในช่วงแรกที่ปักดำจะทำการขังน้ำไว้ในนาข้าว เพื่อคลุมไม่ให้มีหญ้าในนา และให้ต้นข้าวฟื้นตัวหลังจากนั้นจะปล่อยให้น้ำแห้ง แล้วจึงให้น้ำด้วยระบบสปริงเกอร์ในกรณีที่ฝนทิ้งช่วง ทำไปจนถึงช่วงที่ข้าวออกรวง ช่วยกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับอากาศ ทำให้สามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ลดการใช้ปุ๋ย ต้นข้าวแข็งแรง ลดการระบาดของโรคแมลง และสามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้มากถึงร้อยละ ๓๐-๔๕ เมื่อเปรียบเทียบกับการทำนาแบบทั่วไปปีเพาะปลูก ๒๕๖๖/๖๗ พบว่า นายวิชัยมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ไร่ละ ๖,๒๙๓.๖๒ บาท ได้ผลผลิตเฉลี่ยสูงถึงไร่ละ ๑,๑๐๐ กก. ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยไร่ละ ๒๗,๕๐๐ บาท ได้กำไรไร่ละ ๒๑,๒๐๖.๓๘ บาทเปรียบเทียบกับการทำนาโดยทั่วไป จะมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ไร่ละ ๔,๑๐๕.๒๒ บาท ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ ๓๒๕ กก. ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยไร่ละ ๔,๖๒๕.๗๓ บาท ได้กำไรแค่เพียงไร่ละ ๕๒๐.๕๑ บาทจะเห็นได้ว่า แม้ต้นทุนการทำนาแบบเปียกสลับแห้งจะสูงกว่าการทำนาโดยทั่วไป แต่กลับให้ผลผลิตต่อไร่มากกว่าการทำนาแบบทั่วไปถึงร้อยละ ๒๓๘.๔๖เนื่องจากการทำนาแบบเปียกสลับแห้งช่วยให้ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานโรค และดูดซึมปุ๋ยได้ดี รวมถึงมีการบำรุงดินและการดูแลรักษาที่ดี เลยทำให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น.สะ-เล-เตคลิกอ่านคอลัมน์ “หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม