Tuesday, 21 May 2024

ต้นแบบเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน ผลิต-แปรรูป-การตลาด..ครบวงจร

25 Jan 2024
35

นายชายศักดิ์ วุฒิศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ ๑๒ นครสวรรค์ (สศท.๑๒) เผยถึงการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อ.ทรายทองวัฒนา จ.กำแพงเพชร ที่ประสบความสำเร็จและมีจุดเด่นในการทำเกษตรผสมผสาน สามารถต่อยอดไปจนถึงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์tt tt“การดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จหลักๆ คือ การเพาะปลูกข้าวอินทรีย์หลายชนิดและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวไรซ์เบอร์รี และข้าวเหนียวดำ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ Organic Thailand สามารถผลิตข้าวอินทรีย์ได้เฉลี่ยไร่ละ ๕๐๐-๖๐๐ กิโลกรัม ปีละ ๑๒-๕ ตัน”tt tttt ttผอ.สศท.๑๒ เผยอีกว่า การแปรรูปข้าวอินทรีย์ นายสมาน ลุนพงษ์ เศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) จ.กำแพงเพชร และเป็นประธาน ศพก. อ.ทรายทองวัฒนา จะพิถีพิถันตั้งแต่กระบวนการคัดสรรวัตถุดิบ โดยมีการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมเหมาะกับพื้นที่การเพาะปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี และข้าวเปลือกที่จะนำมาสี ต้องผ่านการลดความชื้นก่อน โดยใช้เครื่องอบลดความชื้น และบางส่วนก็ตากเอง ให้มีความ ชื้น ๑๓-๑๕% เพื่อจะได้ข้าวกล้องที่ยังมีจมูกข้าวและสีต่ออีกครั้งเพื่อให้เป็นข้าวสาร โดยบรรจุถุงขนาด ๑ กิโลกรัม พร้อมมีการจัดเก็บข้าวเปลือกในโกดังเก็บสินค้าของตนเองเพื่อป้องกันความชื้นจากภายนอก และป้องกันสิ่งแปลกปลอม เช่น แมลง สัตว์พาหะ นก หนู เป็นต้น เนื่องจากจะมีการแปรรูปตามออเดอร์สั่งซื้อเท่านั้นtt ttสำหรับด้านการตลาด ผลิตภัณฑ์ ร้อยละ ๕๐ ส่งจำหน่ายที่ปั๊มน้ำมัน การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยโค้งวิไลไทยเสรี ในราคาขายส่ง กก.ละ ๗๐ บาท ขายปลีก กก.ละ ๑๐๐ บาท ผลผลิตร้อยละ ๔๐ จำหน่ายในชุมชนและจำหน่ายในแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยผลิตตามที่ลูกค้าสั่งซื้อ ส่วนผลผลิตอีกร้อยละ ๑๐ จำหน่ายทาง เพจ Facebook “ข้าวไรซ์เบอร์รี ข้าวอินทรีย์ ตราทุ่งทอง” และ Shopeett ttด้าน นายสมาน ลุนพงษ์ เศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) จ.กำแพงเพชร และเป็นประธาน ศพก. อ.ทรายทองวัฒนา เผยว่า เดิมทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยว แต่ประสบปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ได้ขนาดและปริมาณตามต้องการ จึงใช้สารเคมีบำรุง ทำให้สภาพดินเสื่อม ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ลดลง จึงได้ศึกษาและเข้าร่วมการอบรมจากหน่วยงานต่างๆ และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ โดยปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบอินทรีย์ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ และเกษตรแบบผสมผสาน ปี ๒๕๕๙ รวมทั้งประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการทำเกษตร บนพื้นที่จำนวน ๓๗ ไร่ แบ่งเป็น นาข้าวอินทรีย์ ๒๕ ไร่ โคกหนองนา ๓ ไร่ ปลูกไม้ยืนต้น ๓ ไร่ อย่าง ต้นยางนา, ต้นพยุง, ต้นประดู่ และต้นสัก สระน้ำขนาด ๒ งาน จำนวน ๔ บ่อ เพาะเลี้ยงปลานิล, ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลาบึก และปลาตามธรรมชาติคลองรอบแปลงนา ขนาดกว้าง ๓ เมตร ลึก ๒ เมตร ยกคูล้อมรอบความยาวประมาณ ๖๕๐ เมตร และส่วนที่เหลือเป็นที่อยู่อาศัย.คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม